วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2568 ดร.ยุทธนา สุวรรณโชติ นายกสมาคม เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฎิบัติการเพื่อพัฒนาแผนนำส่งข้อเสนอเพื่อการพัฒนาและเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพของประเทศไทย ณ ห้องประชุม Innovation ตึก 1 บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่
การประชุมครั้งนี้เป็นการรวบรวมข้อมูลและข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์จากผู้เกี่ยวข้องจริงซึ่งอยู่ในสายงานการขึ้นทะเบียนสินค้านวัตกรรมชีวภาพโดยเฉพาะด้านอาหารและยา ซึ่งจะเป็นขั้นตอนสำคัญในการพัฒนาสินค้านวัตกรรมให้ออกสู่ตลาดสร้างมูลค่าให้กับสินค้าชีวภาพไทยได้ โดยได้รับเกียรติจาก 2 วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ท่านแรก คุณ วัชริน มีรอด รักษาการผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยนโยบายเทคโนโลยีชีวภาพ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สวทช. ซึ่งรับเป็นหัวหน้าทีมวิจัย ร่วมเข้าสัมภาษณ์สมาชิกสมาคมและผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องร่วมกับผู้แทนจากสมาคม รวบรวมข้อมูล รวมถึงให้การสนับสนุนด้านองค์ความรู้ในการจัดทำรายงานจนสำเร็จลุล่วงด้วยดี มาเป็นผู้นำเสนอบทสรุปเล่มข้อเสนอโดยได้สรุปหลักการ Bioeconomy 5.0 เป็นแนวทางการพัฒนาเบื้องต้น ทั้งนี้ท่านวิทยากร ได้เสนอแนะบทบาทการทำงานในเชิงนโยบายและการผลักดันมาตรการต่างๆ เพื่อส่งเสริมการถเติบโตของอุตสาหกรรมในประเทศไทยด้วยวิทยากรท่านที่ 2 ภญ. กฤษณา วินิจธรรมกุล ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ มีประสบการณ์การทำงานด้านการประกันคุณภาพ (QA) ในบริษัทผู้พัฒนายาระดับโลกมากว่า 30 ปี ปัจจุบันท่านเป็นกรรมการบริษัท อินโนบิก (เอเซีย) จำกัด และที่ปรึกษา สมาคมเภสัชกรรม ทะเบียนและกฎหมายผลิตภัณฑ์แห่งประเทศไทย ได้มาเล่าประสบการณ์การทำงานที่มีคุณค่าให้กับเหล่าน้องๆ นักวิจัย ผู้ขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ Regulatory Affair ผู้บริหารและ นักลงทุนในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ เกี่ยวกับความซับซ้อนของกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ โดยเน้นว่าผู้ประกอบการไม่ควรพิจารณาเพียงแค่กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ของตนเองเท่านั้น แต่ควรพิจารณากฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย เช่น กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา และธรรมนูญการปกครองด้วย และได้ตอบคำถาม เสนอแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืนตัดจบ ปัญหาได้ ซึ่งนอกจากท่านวิทยากรแล้ว น้องๆ รุ่นใหม่ยังได้รับความรู้ประสบการณ์ทำงานจากเหล่าผู้บริหารบริษัทผู้พัฒนาผลิตภัณฑ์จากเทคโนโลยีชีวภาพรุ่นพี่ เช่น คุณ วิฑูรย์ วงศ์หาญกุล ผู้ก่อตั้งและผู้บริหาร บริษัท BioNet Asia ผู้ผลิตวัคซีน คุณ มนู สว่างแจ้ง อดีตผู้บริหารบริษัทไฟเซอร์ ประเทศไทย และ คุสมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพไทย (ThaiBIO) จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาแผนนำส่ง ThaiBIO Position Paper: ข้อเสนอเพื่อการพัฒนาและเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพของประเทศไทย หรือ White paper ของ Biotech Industries ในประเทศไทย