ผู้จัดการสมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพไทย(ThaiBIO) ร่วมเดินทางเข้าเยี่ยมชมนวัตกรรมกระบวนการผลิตอาหารพร้อมรับประทาน บริษัท ซีพีแรม จำกัด (บ่อเงิน)

วันที่ 17 มกราคม 2567 ดร.พิมพ์นภา ณีศะนันท์ ผู้จัดการสมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพไทย(ThaiBIO) ได้รับเกียรติให้ร่วมเดินทางเข้าเยี่ยมชมนวัตกรรมกระบวนการผลิตอาหารพร้อมรับประทาน บริษัท ซีพีแรม จำกัด (บ่อเงิน) พร้อมกับคณะกรรมการและสมาชิกกลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย นำทีมโดย ภก.ดร. นิลสุวรรณ ลีลารัศมี ที่ปรึกษากลุ่มฯ และคุณอดุย ขาวละออ รองประธานกลุ่มเทคโนโลยีชีวภาพ ในการนี้ คุณเจริญ แก้วสุกใส ที่ปรึกษาอาวุโสคณะเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซีพีแรม จำกัด ให้เกียรติร่วมต้อนรับ โดยมีคุณสุปราณี ชนะชัย ผู้จัดการทั่วไปอาวุโส ให้เกียรติเป็นวิทยากรแนะนำโรงงาน และคุณณัฐสิทธิ์ อึ๊งภากรณ์ ผู้จัดการทั่วไปอาวุโส ให้เกียรตนำชมโรงงาน สมาคมไทยไบโอขอนำภาพบรรยากาศและสรุปประเด็นน่าสนใจ ศาสตร์แห่งความสำเร็จในกระบวนการผลิตอาหารพร้อมรับประทาน และการเป็น Automated Distribution Center ที่ทันสมัยแห่งหนึ่งของโลก มาแบ่งปัน บริษัท ซีพีแรม จำกัด อยู่ในเครือ CPAll เป็นหน่วยเพื่อผลิตอาหารด้วยนวัตกรรมกระบวนการผลิตระบบปิดและส่งมอบอาหารปลอดภัยเพื่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีสำหรับทุกคนโดยเน้นระบบการควบคุมคุณภาพในทุกขั้นตอนตั้งแต่ GAP (Good Agricultural […]

นายกสมาคมThaiBIO เป็นวิทยากรหัวข้อ “Navigating the Complexity of Biotechnology Licensing” ในงาน LES Thailand

วันที่ 16 กุมภาพันธุ์ 2567 ดร.วสันต์ อริยพุทรัตน์ นายกสมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพไทย (ThaiBIO Association) รับเป็นวิทยากรแชร์ประสบการณ์หัวข้อ “Navigating the Complexity of Biotechnology Licensing” ในงาน LES Thailand “Cutting-Edge Strategies for Global IP Licensing – Supporting Global Trends in IP”“ งานนี้เป็นงานประชุมวิชาการของสมาคมกฏหมายระหว่างประเทศของ Licensing Executive Society International (LES I)โดยในปีนี้สมาคมการบริหารการอนุญาตให้ใช้สิทธิ (ประเทศไทย) – Licensing Executives Society (Thailand) เป็นเจ้าภาพ สมาคมฯ นำภาพบรรยากาศ และประเด็นน่าสนใจจากการแชร์ประสบการณ์การบริหารทรัพย์สินทางปัญญา (IP management) ในอุตสาหกรรมไบโอเทคของท่านนายกสมาคมฯ มาแบ่งปัน ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นสิ่งที่สำคัญในการเพิ่มมูลค่า รักษาผลประโยชน์และป้องกันการละเมิดสิทธิ์ในสิ่งประดิษฐ์หรือสินค้าที่มีเทคโนโลยีที่เราเป็นผู้คิดค้น โดยดร.วสันต์ […]

นายกสมาคมThaiBIOเป็นวิทยากรในหัวข้อ “Biotech Industry to Bio-Innovation Economy era in Thailand” ในACHEMA 2024 Roadshow Asia: Bangkok, Thailand

วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2567 ดร.วสันต์ อริยพุทธรัตน์ นายกสมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพไทย (ThaiBIO) เป็นวิทยากรในหัวข้อ “Biotech Industry to Bio-Innovation Economy era in Thailand” ในกิจกรรม ACHEMA 2024 Roadshow Asia: Bangkok, Thailand ณ โรงแรมอนันตรา สยาม กิจกรรมนี้จัดโดยหอการค้าเยอรมัน-ไทย (จีทีซีซี) เพื่อประชาสัมพันธ์ผู้ประกอบการไทยและผู้ที่สนใจในเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการดำเนินงานอุตสาหกรรมในด้านต่างๆ เข้าร่วมชมงานแสดงสินค้าเทคโนโลยีระดับโลก ACHEMA 2024 World Forum & Technology Expo ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต ประเทศเยอรมนี ในวันที่ 10-14 มิ.ย. 2567 ในกิจกรรม roadshow คุณ อาเด็กรียส คอเนิร์ตหัวหน้าฝ่ายพัฒนาธุรกิจและการขายจาก DECHEMA Ausstellungs-GmbH ผู้จัดงาน ACHEMA กล่าวว่างานดังกล่าวเป็นงานจัดแสดงสินค้าชั้นนำด้านวิศวกรรมเคมี […]

สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพไทย ขอแสดงความยินดีกับบริษัท ไบโอเน็ต-เอเชีย จำกัด ในการเข้ารับรางวัล “1° Global Champion”

สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพไทย (ThaiBIO) ขอแสดงความยินดีกับบริษัท ไบโอเน็ต-เอเชีย จำกัด (BioNet-Asia) ในการเข้ารับรางวัล “1° Global Champion” จากกระทรวงรัฐวิสาหกิจของรัฐบาลอินโดนีเซีย (Ministry of State-Owned Enterprises) รางวัลดังกล่าวได้แสดงถึงความเป็นมืออาชีพที่มีมาตรฐานในระดับสากลของ BioNet-Asia ที่ได้รับความไว้วางใจร่วมงานกับหน่วยงานรัฐวิสาหกิจของประเทศอินโดนีเซียมานาน โดยบริษัท Bio Farma ซึ่งเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ (State-owned enterprise) ภายใต้กระทรวงรัฐวิสาหกิจของรัฐบาลของประเทศอินโดนีเซีย เป็นบริษัทผู้ผลิตวัคซีนรายใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีหน้าที่ในการผลิตวัคซีนและผลิตภัณฑ์แอนติซีรั่มชนิดต่างๆ ในมาตรฐานองค์การอนามัยโลก เพื่อนำมาใช้ในแผนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของประเทศและเพื่อการส่งออกไปจำหน่ายสร้างรายได้เข้าประเทศ และ บริษัท BioNet-Asia ได้ร่วมในการเป็นตัวแทนจำหน่ายวัคซีนมานานกว่า 22 ปี และล่าสุดมีการพัฒนาวัคซีนร่วมกัน ขณะที่กระทรวงรัฐวิสาหกิจของรัฐบาลอินโดนีเซียเองมีหน้าที่ในการจัดการรัฐวิสาหกิจอย่างเหมาะสมแบบมืออาชีพ และเพิ่มมูลค่ารัฐวิสาหกิจ เพิ่มความสามารถการแข่งขัน สร้างองค์กรทันสมัย มีธรรมาภิบาล เพิ่มการขยายตัวของเศรษฐกิจแห่งชาติด้วยรัฐวิสาหกิจ #ThaiBioNews Credit: http://nvi.go.th/…/News/Newsletter/2562/2562_y12_n02.pdf Bionet-Asia Ltd. Co.

สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพไทยร่วมงานประชุม Synbio consortium 2023

ดรใพิมพ์นภา ณีศะนันท์ ผู้จัดการมาคมฯ เป็นตัวแทนสมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพไทยเข้าร่วมงาน ประชุม Synbio consortium 2023 “เวทีการประชุมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีววิทยาสังเคราะห์เพื่อนำเสนอความก้าวหน้าของกิจกรรมต่างๆ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานทั้งจากภาครัฐฯ ภาคอุตสาหกรรม ประจำปี 2566” เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2566 สมาคมนำภาพบรรยากาศในงาน และ เทปบันทึกงานประชุม Synbio consortium 2023   มานำเสนอค่ะ รับชมคลิ้ก https://fb.watch/ohptzhQhGl/?mibextid=RUbZ1f #ThaiBioNews https://www.facebook.com/share/v/Re2L7RunnurC8QFq/?mibextid=qi2Omg #BiotechAdventure #ThaiBIOasso #ThaiBIOKnowledgeSharing

สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพไทย (ThaiBIO) ร่วมกับ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยโดย กลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ และเหล่าพันธมิตร ร่วมจัดกิจกรรม “FTI forum ครั้งที่ 4”ในงาน Thailand LAB INTERNATIONAL 2023

สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพไทย (ThaiBIO) นำภาพบรรยากาศ และเนื้อหาบางส่วนในการสัมมนาหัวข้อ “BIOTEC Breakthroughs for a Better Life นวัตกรรมเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อชีวิตที่ดีกว่า”ซึ่งจัดในวันที่ 6 กันยายน 2566 ในงาน Thailand Lab International 2023 ณ Hall 103-104 ไบเทค บางนา มาแบ่งปันค่ะ งานสัมมนานี้ได้รับเกียรติจาก ดร.ภก.ชาญณรงค์ เตชะอังกูล ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ สภาอุตสาหกรรม มากล่าวเปิดการสัมมนาและปาฐกถาในหัวข้อ “ทิศทางของอุตสาหกรรมไบโอเทคในประเทศไทย” ว่าอุตสาหกรรมไบโอเทคเป็นอุตสาหกรรมที่ตอบโจทย์เศรษฐกิจของประเทศไทยและทั่วโลก ประเทศไทยตั้งให้อุตสาหกรรมนี้อยู่ในเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี โดยจะกระตุ้นการสร้างอุตสาหกรรมและการลงทุนในประเทศ มุ่งอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น การผลิตสารเคมีชีภาพ สารตัวกลางหรือ ingredients, พลาสติกชีวภาพ อุตสาหกรรมการแพทย์และสุขภาพเป็นเป้าหมายแรกๆ ประเทศไทยมีความหลากหลายทางชีวภาพ, นโยบาย BCG และโครงการจากทางราชการ เช่น EECi, EEC และBOI สนับสนุน เขตระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก, ภาคเหนือตอนล่าง […]

สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพไทย(ThaiBIO) ขอนำภาพบรรยากาศ เอกสาร และ LIVE กิจกรรม น่าสนใจภายในงาน TRIUP FAIR 2023 มานำเสนอ

งาน “มหกรรมส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากงานวิจัยและนวัตกรรม TRIUP FAIR 2023” จัดขึ้นที่รอยัล พารากอนฮอลล์ ชั้น 5 ห้างสรรพสินค้าสยามพารากอน ระหว่างวันที่ 18-19 กรกฎาคม 2566 โดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือ สกสว. ร่วมกับภาคีเครือข่ายด้านวิจัยและนวัตกรรม เพื่อต้องการผลักดันการวิจัยและนวัตกรรมของไทยสู่การใช้ประโยชน์ได้อย่างเป็นรูปธรรม นอกจากการนำเสนองานวิจัยและนวัตกรรม การจับคู่ธุรกิจแล้ว ภายในงานผู้จัดได้รวบรวมหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการใช้ประโยชน์งานวิจัยตลอดห่วงโซ่อุปทาน ตั้งแต่ผู้ผลิตงานวิจัย ผู้ให้ทุน องค์กรภาครัฐที่เกี่ยวข้องสนับสนุน พูดได้ว่างานครั้งนี้ สวสก. เชิญเพื่อนหน่วยงานร่วมกระทรวง เช่น NSTDA, NIA, TCELS, PMU และ ข้ามกระทรวง เช่น สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม หรือ สมอ. (TISI) จากกระทรวงอุตสาหกรรม, สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร หรือ สวก. (ARDA) จากกระทรวงเกษตรฯ และ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (DBD), กรมส่งเสริมการส่งออก (DH IPT) จากกระทรวงพานิชย์ […]

สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพไทย (ThaiBIO) เชิญชวนเที่ยวงาน Thailand Local BCG Plus โดยกระทรวงพาณิชย์ สำหรับคนรักษ์โลก และ สนใจอุตสาหกรรม Bio-Circular-Green (BCG)

วันที่ 7 กรกฎาคม 2566 ดร.วสันต์ อริยพุทธรัตน์ นายกสมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพไทย ร่วมเป็นวิทยากรในการเสวนาหัวข้อ แรงบันดาลใจสู่ความสำเร็จ ของสินค้า Local BCG Plus..แชร์ประสบการณ์การทำธุรกิจในเครือ KEEEN biotech group จากแรงบันดาลใจเรื่องการรักษาสภาพแวดล้อม (Green) สู่การคิดค้นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากธรรมชาติ (BIO) ผ่านเทคโนโลยีการผลิตให้ได้ประสิทธิภาพ (H igh efficacy) และมาตรฐาน เพื่อย่อยสลายขยะ (Weste) ให้กลับมาเป็นสารตั้งต้นในระบบการสร้างพลังงานในสิ่งมีชีวิตต่อไป (Circular) พร้อมเผยเคล็ดลับการเป็นผู้นำสินค้า BGC plus ของผู้บริโภคปัจจุบัน งานนี้จัดที่ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 9 กรกฎาคม 2566 #อุดหนุนสินค้าไทย เศรษฐกิจหมุนเวียนในไทย #BCGeconomy #thailandlocalbcgplus #Localbcg+ #BCG #Biotechnology #ThaiBIOKnowledgeShairing #ThaiBIO_KS ฟังเสวนาฉบับเต็มได้ที่ https://www.facebook.com/LocalBCGPlus/videos/1581999918995495/

สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพไทย (ThaiBIO) จัดกิจกรรม ThaiBIO Be Your Guest ครั้งที่ 1/2566นำสมาชิกเข้าเยี่ยมศูนย์บริการการวิจัยและเทคโนโลยีการผลิตในกลุ่มอุตสาหกรรมชีวภาพสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)

วันที่ 22 มีนาคม 2566 ดร.ขวัญชนิตร ตันติเวชกุล กรรมการสมาคม พร้อมด้วย ดร.พิมพ์นภา ณีศะนันท์ ผู้จัดการสมาคม นำบริษัทสมาชิกผู้ประกอบการกลุ่มผู้ผลิตและใช้จุลินทรีย์ในอุตสาหกรรมเข้าเยี่ยมชมโดยศูนย์แรกคือ…ศูนย์นวัตกรรมการผลิตหัวเชื้อจุลินทรีย์เพื่ออุตสาหกรรม (Innovative Center for Production of Industrially used microorganisms หรือ ICPIM) ซึ่งเป็นศูนย์เชี่ยวชาญด้านการวิจัยและพัฒนา ด้านจุลินทรีย์โพรไบโอติกแบบครบวงจร การผลิตในระดับอุตสาหกรรมที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน GHPs & HACCP ต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ อาหาร ยาและเวชสำอางสำหรับมนุษย์ (ICPIM1) และ สารชีวภัณฑ์ด้านการเกษตร (ICPIM2) โดยให้บริการสายพันธุ์จุลินทรีย์โพรไบโอติกชนิดต่างๆ, พัฒนากระบวนการผลิต (Upstream & Downstream process)ในระดับอุตสาหกรรม สร้างต้นแบบการผลิตในเชิงพาณิชย์, บริการวิเคราะห์ทดสอบจุลินทรีย์และผลิตภัณฑ์ที่มีจุลินทรีย์เป็นส่วนประกอบ บริการทดสอบคุณสมบัติเชิงหน้าที่ของจุลินทรีย์โพรไบโอติก รวมทั้งงานบริการทดสอบพิษวิทยาต่อหน่วยพันธุกรรม ศูนย์ต่อมาเป็นศูนย์บริการนวัตกรรมเครื่องสำอางแบบครบวงจร (Innovative Cosmetic Services Center หรือ ICOS) ที่ผ่านการประเมินสถานที่ผลิตเครื่องสำอางจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข […]

สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพไทย ขอร่วมแสดงความยินดีกับไบโอเทค สวทช. ในโอกาสเปิดตัว BBF – โรงงานต้นแบบชีวกระบวนการไบโอเทค มาตรฐานสากล

วันพุธที่ 8 มีนาคม 2566 ดร.พิมพ์นภา ณีศะนันท์ ผู้จัดการสมาคมฯ เข้าร่วมงานแถลงข่าวเปิดตัวโรงงานต้นแบบชีวกระบวนการไบโอเทค (BIOTEC Bioprocessing Facility) หรือ BBF ณ ห้องแถลงข่าว ชั้น 1 อาคารพระจอมเกล้า กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ถนนพระราม 6 ราชเทวี กรุงเทพฯ โรงงาน BBF นับเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญในระดับกึ่งอุตสาหกรรม (Pilot scale) ที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนัวตรกรรม (อว.) โดยศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) มีเป้าหมายเพื่อใช้เร่งผลักดันการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ ซึ่งตัวโรงงานได้รับมาตรฐาน Codex GHPs และ HACCP ตอบโจทย์ความต้องการของภาคอุตสาหกรรมฐานชีวภาพ โดยให้บริการการทำวิจัยร่วมกับภาคเอกชน และให้บริการต่อยอดการนำจุลินทรีย์มาใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมกับภาคเอกชน หรือ นักวิจัยที่ต้องการต่อยอด เป็นที่ทราบกันดีในนักธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยีชีวภาพเป็นเครื่องมือในอุตสาหกรรมชีวภาพว่า สวทช.เป็นหน่วยงานวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศที่รวบรวมคนเก่งระดับหัวกะทิและงานวิจัยที่ทรงคุณค่าอยู่มากมาย หลายบริษัทประสบความสำเร็จได้เพราะได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีและร่วมวิจัยกับทีมนักวิทยาศาสตร์จาก สวทช. และในงานเปิดตัวโรงงานในครั้งนี้ ศาสตราจารย์ […]

1 2 3 11