สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพไทย (ThaiBIO) เข้าร่วมประชุม BCG Economy Forum ในงาน International Conference on Advanced and Applied Petroleum, Petrochemicals, and Polymers 2018 (ICAPPP 2018)

วันที่ 18 พฤศจิกายน 2561 ตัวแทนสมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพไทย(ThaiBIO) ดร.พิมพ์นภา ณีศะนันท์ ผู้จัดการสมาคมฯ เข้าร่วมประชุมนำเสนอแนวทางและรับความคิดเห็นเกี่ยวกับแผนการดำเนินงาน BCG in action ใน BCG Economy Forum จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) ประชุมนี้เป็นหนึ่งหัวข้อในงานประชุมวิชาการนานาชาติประจำปีของวิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมียปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรืองาน ICAPPP 2018

สืบเนื่องจากวันที่ 5 พฤศจิกายน 2561 ที่ผ่านมา ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รมว.วท พร้อมทีมงานจาก สวทน. นำประชาคมนักวิจัยเข้ายื่นสมุดปกขาว BCG in action ซึ่งเสนอ Bio economy, Circular economy, Green economy (BCG) Model เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ต่อนายกรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา โดย ท่านนายกฯ ได้รับมอบพร้อมท่านยังฝากว่า ”การวางแผนการทำงานจะทำอย่างไรให้สามารถนำไปปฏิบัติได้จริงและต้องคำนึงถึงบริบทไทยด้วย” (ข้อมูลเพิ่มเติมhttps://m.facebook.com/story.php?story_fbid=1635611143412276&id=1385294465110613)

หัวข้อของการประชุมวันนี้เป็นการคุยถึงนโยบายและการลงทุนในอุตสาหกรรมไบโอรีไฟเนอรีของประเทศไทย ผู้เข้าร่วมประชุมมีคนเก่งจากหลายภาคส่วน ทั้งนักวิชาการจากภาครัฐ สมาคม ThaiBIO, TBIA รวมถึงเอกชนทั้งฝั่งผู้ผลิตผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมรายใหญ่ เช่น PTT และ SGC หรือผู้กระจายสินค้าส่งเสริมนโยบายธรรมภิบาลรายสำคัญอย่าง Central food retail มาฟัง ให้ข้อมูล แชร์ประสบการณ์ และชี้ทิศทางที่น่าจะทำและได้ประสิทธิผลในอนาคต โดยอุตสาหกรรม Bio-plastic ถูกนำมาเป็นตัวอย่างพูดคุยถึงการทำนโยบายสนับสนุน BCG


ประเด็นจากการรับฟังข้อคิดเห็นจากนักวิชาการและภาคเอกชน คือ เนื่องจากสารทำ Bio-plastics หลายตัวมีเทคโนโลยีรวมถึงการผลิตในประเทศอยู่พร้อมแล้ว เช่น Poly-lactic acid (PLA), Poly-butylene succinate (PBS) และ Poly-hydroxyl-alkanoates (PHA) โดยสารเหล่านี้สามารถย่อยสลายตัวเองได้ (decomposed) ใช้ทำวัสดุแทนเม็ดพลาสติกที่ได้จากปิโตรเลี่ยมชนิดเพื่อใช้ผลิตเป็น Biodegradable plastics จะมีประสิทธิผลอย่างมากต่อการประหยัดงบประมาณการกำจัดขยะ และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมได้ทั้งระบบ คือไม่ส่งผลกระทบมาถึงคนและสัตว์ที่อาศัยในสิ่งแวดล้อมนั้นๆ แต่ประเด็นคือการขาดการสร้าง demand เพื่อให้สินค้าขายตัวเองได้ ซึ่งแนวคิดการใช้ Biodegradable plastics ทดแทน และ ลดการทิ้งพลาสติกที่ผลิตจากปิโตรเลียม (การ recycle, การหา mono-material plastics) เป็นแนวคิดที่หลายประเทศกำลังดำเนินการเช่นกัน ในฝากฝั่งตัวแทนภาครัฐของไทยแต่ละกระทรวงเตรียมแผนตอบรับ BCG กันอย่างรวดเร็ว เช่น กระทรวงวิทย์ฯ มีการจัดทำข้อมูลกำลังพลทั้งในมหาวิทยาลัยวิจัย ในกรุงเทพ และตามภูมิภาคเพื่อการช่วยเหลือภาคเอกชนในด้านข้อมูลวิชาการ ซึ่งวิทยาลัยปิโตรฯ เองก็ประกาศความพร้อมเข้าสู่งานด้าน Bio-refinery ด้วย, สวทช. ซึ่งคาดว่าธุรกิจ bio refinery นี้น่าจะเป็นอุตสาหกรรมสำคัญอันหนึ่งของประเทศที่จะมาตอบโจทย์ BCG กำลังลงทุนเรื่อง Pilot plant ใน EECi, สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง มีแผนคืนภาษีสำหรับผู้ประกอบการที่ใช้วัสดุห่อหุ้มสินค้าเปลี่ยนจาก Conventional plastics เป็น Biodegradable plastics, BOI กระทรวงอุตสาหกรรม มีแผนสนับสนุนการลงทุนของภาคเอกชนที่จะลงทุนในธุรกิจใดๆที่ส่งผลให้เกิดการกระจายงานและรายได้สู่ชุมชนเกิด Circular economyได้

ทั้งหมดนับเป็นข่าวดีของผู้ประกอบการซึ่งจะต้องคอยติดตามว่านโยบายต่างๆ เหล่านี้จะประกาศใช้ และใช้ได้อย่างเป็นรูปธรรมเมื่อไร

ICAPP เป็นงานประชุมวิชาการที่จัดได้อย่างคุณภาพ มีนักวิชาการด้านปิโตรเลียมและปิโตรเคมีทั้งไทยและต่างประเทศเข้าร่วมนำเสนอผลงานใหม่ๆ มากมาย ที่สำคัญปีนี้เข้าชมฟรีด้วย มีงานอีก 2 วันค่ะ (ติดตามข่าวเพิ่มเติมที่ https://mgronline.com/science/detail/9610000125458)