วันที่ 20 ธันวาคม 2565 สมาคมไทยไบโอได้มีการจัดประชุมกรรมการประจำไตรมาสสุดท้ายของปี 2565 นอกสถานที่ ณ ห้องบัลโคนี่ โรงแรม Bangkok Midtown ซึ่งเป็นสถานที่จัดงานThaiBIO Luncheon กระทั่งเวลา 11:45 น เริ่มมีสมาชิกทยอยมาลงทะเบียนหน้างาน เวลา 12 :00 น ดร.วสันต์ อริยพุทธรัตน์ นายกสมาคมฯ กล่าวเปิดงาน และแจ้งข่าวกับสมาชิกว่าจากนี้ต่อไปสถาณการณ์การระบาดของโควิดจะอยู่กับเราไปแบบ post pandemic Covid19 คือจะมาเป็นละลอกๆ ผู้คนต้องดำเนินชีวิตกันต่อไปโดยหมั่นดูแลสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ..สำหรับสมาคมเราจะจัดกิจกรรมที่สร้างสรรค์ประโยชน์ให้สมาชิกได้เข้าร่วมไตรมาสละ 1 ครั้งเป็นอย่างน้อย จากนั้นจึงเชิญแขกทุกท่านร่วมรัปประทานอาหาร …จนกระทั่ง 12.45 น. ใกล้ได้เวลาตามกำหนดการ ดร.พิมพ์นภา ณีศะนันท์ ผู้จัดการสมาคมฯ เรียนเชิญ ดร. ขวัญชนิตร ตันติเวชกุล ขึ้นมาแจ้งข่าวดีของบริษัท เบคไทยฯ จะมีพิธีเปิดตึกใหม่ของบริษัท ในวันที่ 9 มกราคม 2565 และเรียนเชิญสมาชิกในวันนั้นเข้าร่วมงาน
หลังจากนั้น ศ.ดร. วสันต์ จันทราทิตย์, หัวหน้าศูนย์จีโนมทางการแพทย์คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล Keynote speaker ได้ขึ้นพูดแชร์ข้อมูลความรู้ จากประสบการณ์การทำงานกว่า 25 ปี ของท่านในหัวข้อเรื่อง Genome innovations for medicine and good health for Thai people from pre-pregnancy, before birth, children, adults, the elderly, including microorganisms in the body แม้เนื้อหาจะหนักไปทางวิชาการแต่ในการเลคเชอร์ 1 ชั่วโมงเต็มๆ นี้ อาจารย์ทำให้ผู้บริหารบริษัทสมาชิกทุกท่านได้รู้จักกับ DNA, Genome เข้าใจถึงการทำงานของสารพันธุกรรม (Genotype) เหล่านี้ที่มีความสำคัญกับชีวิต กำหนดการแสดงออกของลักษณะต่างๆ (Phenotype) ในสิ่งมีชีวิต เป็นสาเหตุแห่งโรคต่างๆ ขณะเดียวกันในกรณีที่มีข้อมูลของการแสดงออก เพียงพอก็สามารถป้องกันและรักษาได้ทันท่วงที ขณะที่ข้อมูลบางอย่างอาจใช้ในการสร้างเสริมประสิทธิภาพของบุคคลหรือสิ่งมีชีวิติชนิดนั้นๆ ให้ดียิ่งขึ้นและสร้างประโยชน์ต่อไปได้ ซึ่งนอกจากชี้ประเด็นเรื่องโรคทางพันธุกรรมและประโยชน์ของ DNA แล้ว ท่านแสดงให้เห็นถึงความพร้อมของเทคโนโลยีในศาสตร์นี้ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือในการทำ Next generation sequencing, Genome project, การวิเคราะห์ข้อมูล, บุคลากร ซึ่งจะนำมาซึ่งข้อมูลของลำดับ DNA ในสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ ที่เราสนใจใช้ในอุตสาหกรรมก็ทำได้, ตัวอย่างการวิเคราะห์เอาลำดับ DNA เพียงบางส่วนมาใช้เป็นDNA target หรือ DNA marker เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ เห็นได้จากช่วงพักเบรค เกิด Business matching และ Networking ขนาดย่อมๆ ทั่วไปในบริเวณงาน ทำให้ผู้จัดรู้สึกอิ่มอกอิ่มใจเป็นอย่างยิ่ง
หลังจากนั้นเข้าสู่ช่วง ThaiBIO Hail: Speech from new member ซึ่งเป็นการต้อนรับสมาชิกใหม่ของสมาคมโดยการให้สมาชิกน้องใหม่ในปีนี้ได้ออกมาแนะนำตัวและกิจการของบริษัทให้รุ่นพี่ๆที่เป็น Biotech Adventure ได้รู้จักกัน โดยในปีนี้ตั้งแต่ต้นปีสมาคมมีสมาชิกที่ผ่านการเข้ารับเป็นสมาชิกด้วยกันทั้งหมด 4 บริษัท ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นบริษัทที่มีกิจการในสายห่วงโซ่มูลค่าอุตสาหกรรมไบโอเทคโดยทางตรงทั้งสิ้น และทั้งหมดยังเป็นบริษัทที่มีการใช้และให้บริการหรือมีผลิตภัณฑ์จากไบโอเทคโนโลยีและศาสตร์ในระดับ DNA Genome หรือ สารพันธุกรรม เริ่มจาก 1. บริษัท ไบโอแอคทีฟ จำกัด ซึ่งให้บริการเครื่องมือวิทยาศาสตร์สำหรับห้องทดลองและโรงงานอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ ในครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก ดร.ยศธชัย ผิวปานแก้ว, Service and Support Manager มาพูดถึงเครื่อง Illumina ซึ่งเป็นเครื่องหาลำดับเบสของ DNA ที่ถูกพัฒนามาเป็นตัวแรกๆในเทคนิคนี้และปัจจุบันได้เพิ่มขีดความสามารถให้ทำ NGS สายยาวเพิ่มมากขึ้น รวมถึงเครื่องมือวิเคราะห์ทาง Molecular genetic ครบวงจร 2. บริษัท ออฟฟิเชียล อีควิปเม้นท์ แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด บริการการออกแบบและการก่อสร้างห้องทดลองวิทยาศาสตร์ระดับมาตรฐาน ISO17025, GLP, GMP ในไทย รวมถึงติดตั้งเครื่องมือวิทยาศาสตร์ เช่น BSL3 หรือตู้นิรภัยปลอดเชื้อสำหรับใช้ในห้องแลปและทางการแพทย์ได้ 3. บริษัท เอส. เอส.แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด บริษัทที่มีรากฐานข้อมูลเชิงลึกในการดูแลสุขภาพผิวความสวยงามจาก แบรนด์ ดร.สมชาย ที่โด่งดังมากว่า 50 ปี ปัจจุได้มีการผลิตและจำหน่ายสินค้าเพื่อสุขภาพอื่นๆ อีกหลายไลน์ เช่น plant based organic yogurt, enzyme ชุดที่ใช้ในการสร้าง RNA งานสมาคมในครั้งนี้ได้รับเกียรติจากคุณหมอ น.พ. กฤษณพงศ์ มโนธรรม, ซึ่งเป็นผู้บริหารงานด้านเทคโนโลยี CTO มาเล่าถึงการใช้เครื่องมือเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการวิจัยและการผลิตสารชีวภาพเพื่อใช้ในอุตสาหกรรม ท่านได้พูดถึงการออกแบบและสร้างเวคเตอร์ (Vector construction) สำหรับผลิตวัคซีนในแลปของบริษัทซึ่งเป็นศาสตร์ขั้นสูงในการใช้ประโยชน์จากสารพันธุกรรมไว้ด้วย 4. บริษัท Baiya Phytopharm จำกัด สมาคมได้รับเกียรติจาก CEO และ Co-Founder ผู้หญิงสวยที่มีความสามารถรอบด้าน ภก.ญ. ดร.สุธีรา เตชคุณวุฒิ มาพูดเรื่อง BaiYa โรงงานผลิต bioproduct จากต้นใบยาสูบ ซึ่งข้อมูลและเนื้อหาที่ได้รับทราบในครั้งนี้ ยิ่งเป็นการยืนยันถึงความสามารถและความพร้อมของบริษัทสายพันธ์ไทยที่ใช้เทคโนโลยีชีวภาพขั้นสูงในการสร้างผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงได้ไม่ว่าจะเป็น วัคซีน ยา หรือ อาหารฟังชั่น และ ผลิตภัณฑ์ต่างๆที่ใช้ plant based protein ในการผลิตได้
สมาชิกในสมาคมและผู้สนใจ ติดตามกิจกรรมในครั้งต่อไปได้จาก จดหมายข่าวสมาคมฯ กลุ่ม line ThaiBIO และ Facebook Fan Page