สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพไทย (ThaiBIO) ส่งตัวแทนเข้าร่วมศึกษาดูงานในโครงการสนับสนุนงานด้านเศรษฐกิจฐานชีวภาพ (Bioeconomy) ของกรมเศรษฐกิจ กระทรวงการต่างประเทศ ณ สหพันธรัฐเยอรมนี

วันที่ 14-21 เมษายน 2561 ดร. พิมพ์นภา ณีศะนันท์ ผู้จัดการสมาคมเป็นตัวแทนเดินทางเข้าร่วมศึกษาดูงานด้านเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (Bio Economy) ร่วมกับคณะดูงานซึ่งประกอบด้วยตัวแทนจากหน่วยงานต่างๆ อาทิเช่น สวทช. วว. สภาอุตสาหกรรม และ สมาคมไบโอพลาสติก ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องในการสร้างสรรค์เศรษฐกิจ อุตสาหกรรมชีวภาพ

 

Biotech business  จะเป็นธุรกิจแห่งอนาคต การสร้างความเข้มแข็งให้เศรษฐกิจไทยยั่งยืน เกิด Bioeconomy ธุรกิจนี้เป็นธุรกิจสำคัญสาขาหนึ่งของประเทศไทย เนื่องจากประเทศไทยมีทรัพยากรทางชีวภาพที่มีความสมบูรณ์ มีความหลากหลายสูง ขณะที่ประสิทธิภาพ การใช้ทรัพยากรเหล่านั้น ยังไม่สมบูรณ์ เต็มเม็ดเต็มหน่วย สามารถพัฒนาให้เกิดการใช้งานให้ทรงคุณค่ให้มากกว่าเดิมได้ โดยการพัฒนาขบวนการผลิตของแต่ละผลิตภัณฑ์ ให้กากของเสียจากอุตสาหกรรมลดลงหรือเปลี่ยนเป็นศูนย์ โดยใช้ขบวนการจัดการและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับขบวนการผลิตต่างๆ เข้ามาร่วมด้วยเพื่อแปลงกากอุตสาหกรรมเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ (Bio refinary) ที่ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดต่อไป

การดูงานตามลักษณะของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการสร้างอุตสาหกรรมชีวภาพ แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ

1. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ นหรือหน่วยงานวิจัยในมหาวิทยาลัยซึ่งถือเป็นหน่วยงานต้นน้ำในการศึกษาหาเทคโนโลยี ปรับปรุงวิธีการ หรือเพื่อได้ผลิตภัณฑ์ใหม่หรือมีคุณภาพดีขึ้น เช่น ที่ Forschungszentrum Julich university เดิมเป็นมหาวิทยาลัยที่เชี่ยวชาญหรือมี technology platform เรื่องการวิจัยนิวเคลียร์ ปัจจุบันยกเลิกงานวิจัยนี้แล้ว และกำลังทำลายกากกัมมันตรังสี ควบคุม และหาวิธี Reconstruct สิ่งก่อสร้างเก่าอยู่ วิทยาการใหม่ที่เข้ามาแทน คือ Biophysics เทคนิคที่มีความเชี่ยวชาญในปัจจุบันคือ MRI และ NMR

งานวิจัยที่กำลังทำอยู่ เช่น

1. การผลิตน้ำมันและพลังงานทดแทน โดยเลือกศึกษาสาหร่ายเป็นต้นแบบผลิตน้ำมันเพราะใช้งานได้ทั้งต้นและกากสามารถนำมาทำปุ๋ยได้ ขณะนี้ผลิตประสิทธิภาพน้ำมันได้ดีแต่ยังหาวธีเพาะเลี้ยงที่ยั่งยืน

2. การพัฒนา Chip โดยศึกษาต้นแบบการทำงานของสมอง

3. การสำรวจลักษณะโครงสร้างของหัวมันสำปะหลัง โดยใช้ MNR ดูการเจริญเติบโตของหัวมันในระยะ และสภาพแวดล้อมต่างๆ ซึ่งเป็นงานวิจัยที่ทำร่วมกับไทย (https://www.nstda.or.th/th/news/5130-20170227-mou-the-collaborative-bioeconomy-international-project)
Professor ที่นี่สามารถผลิตเครื่อง NMR ได้เอง และทำแบบ portable เพื่อ ออกสำรวจในภาคสนามได้

หน่วยงานแบบที่ 2 คือ Technology transfer และ Incubator center หรือหน่วยงานผลักดัน เชื่อมโยง ส่งเสริมให้เกิดการใช้เทคโนโลยีการผลิต หรือการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ใหม่แก่ผู้ประกอบการ ส่งเสริมนักลงทุน หรือ Startup โดยจะจัดเตรียมสภาพแวดล้อม ทั้งสถานที่ อาคารเพื่อสำหรับทำออฟฟิศ ห้องวิจัย โรงงาน หรือที่ดิน ให้เช่าในขณะที่อาคารในบริเวณเดียวกันเตรียมพร้อมผู้ประกอบการด้านต่างๆ เช่น สำนักกฎหมาย ขนส่ง ทีพัก โรงเรียน และ มหาวิทยาลัย สถานที่ฝึกอบรมความรู้ที่มีจำเป็นต่อการพัฒนางาน ลงทุน การตลาด และจัดเตรียมโปรแกรมการให้ความรู้และหลักสูตรต่างๆ ไว้ให้แกผู้ ประกอบการหน้าใหม่และ Startup ให้เข้มแข็งก่อนจะผลักดันให้ขยายธุรกิจและออกไปตั้งนอกเขตศูนย์ได้ ซึ่งมักตั้งเป้าหมายไว้ที่ 3-7 ปี แล้วแต่ขนาดและชนิดของธุรกิจ โดยการให้บริการดังกล่าวจะเก็บอัตราค่าบริการคืนจากผู้ประกอบการหรือสตาร์ทอัพที่เป็นผู้เช่าโดยตรง ซึ่งหน่วยงานที่จัดทำ incubation center ต่างๆ เหล่านี้ อาจจะเป็น มหาวิทยาลัย สมาคมต่างๆ ที่ได้รับเงินสนับสนุนมาจากภาครัฐบาลแต่การบริหารจัดการและการบริการเก็บเงินในลักษณะเอกชน เช่น

BIO.NRW – the active biotechnology cluster of North Rhine- Westphalia (NRW) ซึ่งเป็น incubator ที่ได้รับทุนสนับสนุนจากรัฐบาลเยอรมัน มาคอยทำหน้าที่สนับสนุน startup ให้เติบโต โดยรับบริษัท startup ทางbiotech เข้ามาอยู่ภายใน สวนวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ที่ตั้งอยู่ภายใน Life Science Center Duselldorf เป็นเวลา 3 ปี โดยจะทำหน้าที่พี่เลี้ยงให้ความรู้ด้านเทคโนโลยี การตลาด การขาย IQW และ IPO จากนั้นจะผลักดันไปสู่การลงทุนขยับขยายสถานที่และกิจการ ภายนอกศูนย์ เพื่อการเจริญเติบโตของธุรกิจนั้นๆ เองต่อไป

สำหรับหน่วยงานประเภทสุดท้าย แบบที่ 3 เป็นผู้ประกอบการ โรงงานเอกชนในเยอรมันนีที่ทำธุรกิจชีวภาพ หรือที่เกี่ยวกับการใช้งานด้านเทคโนโลยีชีวภาพหรือมีสินค้าไบโอเทคเป็นหลัก เช่น Bayer บริษัททางด้านการเกษตร มีผลิตภัณฑ์หลักทำยาฆ่าแมลงและปุ๋ยเคมี มีเทคโนโลยีหลักคือเทคโนโลยีการหาสารขนาดโมเลกุลเล็กที่มีผลต่อการทำลายแมลงที่หลากหลายชนิดได้ และได้เชื่อมต่อกับองค์ความรู้จาก RWTH Aachen University ที่มีความเชี่ยวชาญเรื่องการดัดแปลงโครงสร้างและการผลิตโปรตีนมาเป็นตัวเชื่อม (linker) ในการจับสารฆ่าแมลงกับวัสดุ เช่น ผิวใบไม้เพื่อให้ยาฆ่าแมลงจับบนใบได้ดีขึ้น


นอกจากนี้ได้เยี่ยมชม บริษัท ORGANOBALANCE ซึ่งเป็นบริษัทลูกของบริษัทผู้ให้บริการเทคโนโลยีชั้นนําในด้านนวัตกรรม enzyme อันดับหนึ่งของโลก บริษัท ORGANOBALANCE เน้นผลิต โปรไบโอติก และเป็นผู้เชี่ยวชาญในการพัฒนาสายพันธุ์การผลิตยีสตสำหรับใช้ในอุตสาหกรรม นอกจากนี้ยังมีความเชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์และกระบวนการใหม่ที่ได้จากสายพันธุ์ของ เชื้อจุลินทรีย์จากธรรมชาติ โดยใช้การเก็บรวบรวมจุลินทรีย์ที่เป็นเอกลักษณ์ และความหลากหลายเพื่อ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพสูงและจดสามารถสิทธิบัตรได้

การดูงานที่ประเทศเยอรมันในครั้งนี้นอกจาก ความรู้ที่ได้จากการดูสถาบันการทำงานต่างๆแล้วยังได้ความรู้จากผู้ร่วมเดินทางที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิทั้งหลาย ได้แบ่งปันประสบการณ์ ความรู้ และมิตรภาพที่ดีให้กันด้วย เช่น การดูงานใน Cologne ทำให้เห็นว่าเมืองนี้ปลูกต้นไม้ สกุล Brassica, Canola หรืออีกชื่อว่า Rapeseed กันมาก ระหว่างทางศึกษาดูงานผ่านทุ่งคาโนล่า ทั้งแบบที่กำลังเตรียมดิน จนถึงแปลงที่มีดอกออกเรียงรายสวยงาม เมล็ดของ rapeseed ใช้ผลิตน้ำมันคาโนล่า ในทริปนี้มีพี ท่านอาจารย์ผู้รู้จาก มจธ เล่าให้ฟังว่าเดิม Rapeseed ใช้เมล็ดมาสกัดน้ำมัน Canola ประกอบอาหารไม่ได้เพราะมีโปรตีนในเมล็ดบางตัวที่เป็นพิษกับคน แต่ด้วยการปรับปรุงพันธุ์โดยใช้หยุดการแสดงออกของยีน (Gene nockout) ที่ผลิตโปรตีนพิษนี้ ทำให้สามารถนำน้ำมันมาใช้และผลิตเป็นอุตสาหกรรมได้

ซึ่งนอกจากการดูงานแล้วการเดินทางในครั้งนี้ ผู้แทนสมาคมได้เข้าร่วมงาน Global Bioeconomy Summit 2018 ซึ่งเป็นงานประชุมเชิงปฏิบัติการร่วมกันระหว่างนักวิจัยจากนานาประเทศ

ภายในงาน ทุกประเทศทั่วภาคพื้นโลกให้ความสำคัญกับการพัฒนา bioeconomy เพื่อไปสู่ความยั่งยืนทางเศรษฐกิจและรักษาสภาแวดล้อมให้คงอยู่ตลอดจน สามารถตอบโจทย์ส่งเสริม Global sustainable development (GSDs) ของ United Nation (https://sustainabledevelopment.un.org/?menu=1300) ได้ด้วย

ในงานนี้ ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รมต. กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้าร่วมงานในฐานะ keynoter ด้วย สำหรับ นักศึกษา นักวิชาการและผู้ประกอบการที่ร่วมดูงาน มีโอกาสได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์จากการประชุมเชิงปฏิบัติการในงาน Global Bioeconomy Summit 2018 นี้

ทางสมาคมต้องขอขอบคุณ กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ เจ้าภาพหลัก สวทช ผู้ดำเนินการประสานงาน และ สมาชิกผู้ร่วมเดินทางด้วยทุกท่าน ที่มอบโอกาสที่ดีๆให้แก่กัน และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้ร่วมงานเพื่อการสนับสนุน bioeconomy community ให้เกิดแก่ประเทศได้ในที่สุด

โดยสมาคมไทยไบโอได้ร่วมกับสถาบันวิทยาการ สวทช. จัดทำหลักสูตร”Bio Startup” เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีชีวภาพ การวิจัย นักวิจัย การดูงาน โรงงาน การทำธุรกิจ ประสบการณ์ตรงจากนักธุรกิจไบโอเทค สาย open innovation รวมทั้ง เรียนรู้การตลาดและ ทำการตลาดและระดมทุนแบบ Startup และการดูโรงงานในต่างประเทศ เพื่อหวังสร้างความเข้าใจและก่อให้เกิดผู้ประกอบการใน ธุรกิจอุตสาหกรรมไบโอเทคในประเทศไทย ที่รู้ เข้าใจ และสามารถใช้ทรัพยากรในประเทศและแหล่งการสนับสนุนจากหน่วยงานที่มีศักยภาพต่างๆ ในไทยได้ (http://www.thaibio.or.th/2018/05/07/biostartup-หลักสูตรสำหรับผู้สนใจ/)