สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพไทยเข้าร่วมงานในพิธีลงนามการเปิด ศูนย์นวัตกรรมทางการแพทย์ (MIND)

 

 

 

 

 

 

วันที่ 27 สิงหาคม 2561 ดร. พิมพ์นภา ณีศะนันท์ ผู้จัดการสมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพไทยเข้าร่วมงานในพิธีลงนามการเปิด ศูนย์นวัตกรรมทางการแพทย์ (MIND) ณ ห้องประชุมอรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ ศูนย์การแพทย์สิริกิติ์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โดยมี ศ.นพ.ปิยะมิตร ศรีธรา คณบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวต้อนรับ และแจ้งว่าศูนย์แห่งนี้เกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่างคณะวิทยาศาสตร์, คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี และคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อเป็น platform ของความร่วมมือกันในการสร้างนวัตกรรมการแพทย์ของประเทศไทย เพื่อการพัฒนาประเทศและขับเคลื่อนเศรษฐกิจอย่างก้าวกระโดด

ในการเปิด “ศูนย์พัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์ หรือ MIND” ครั้งนี้ มีรัฐมนตรี (รมต.) และรัฐมนตรีช่วย (รมช.) 3 ท่าน ร่วมเป็นสักขีพยาน พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ และเป็นเกียรติให้ปาฐกถาในงาน ซึ่งทางผู้เข้าร่วมงานจากสมาคมฯ ได้รับฟังและจับใจความเพื่อขอส่งต่อมา ณ ที่นี้

เริ่มจาก นพ.อุดม คชินทร รัฐมนตรีช่วยว่ากระทรวงศึกษาธิการ (รมช.ศธ.) ได้กล่าวถึง “การศึกษาไทยในยุค 4.0 ที่จำเป็นจะต้องเกิดจากการปรับกระบวนการรับรู้และการทำงานของอาจารย์ให้ทันต่อยุคที่เทคโนโลยีปัจจุบันและการเรียนรู้ของเด็กเกิดการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว การเรียนรู้นอกห้องเรียนที่หาได้ด้วยตนเองอย่างง่ายดาย รูปแบบการรับรู้เปลี่ยนไปและความสามารถใช้เทคโนโลยีในการสร้างงานได้เกิดขึ้นให้เห็นทั่วไปทำให้การเรียนในสถาบันต่างๆในรูปแบบเดิมๆ เหมือนจะลดความต้องการลง
คุณครู อาจารย์จะทำอย่างไรให้ห้องเรียน โรงเรียน หรือมหาวิทยาลัยเป็นแหล่งเรียนรู้แทนการเรียนการสอนแบบเดิม อาจารย์ต้องเป็นครู เป็นโค้ช (Coach) ให้คำแนะนำ โค้ชชิ่ง (Coaching) หรือการที่ช่วยเหลือ พัฒนาและค้นหาศักยภาพในตัวเด็ก ชี้แนวทางและผลักดันเด็กสู่ความสำเร็จ และ เป็น Mentor คอย Mentoring โดยการสอนงาน แนะนำ บอกเล่า ถ่ายทอดจากความรู้และประสบการณ์ ที่อาจารย์มีอย่างใกล้ชิด สร้างเด็กไทยให้เป็น global citizen มีความสามารถในการก้าวไปในยุคสมัยนี้ให้ได้”และท่านที่ 2 ท่านธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมต.ศธ.) กล่าวถึง การเกิดขึ้นของนวัตกรรม (Innovation) โดย ท่าน รมต.ศธ. กล่าวว่า “innovation นั้นเกิดมาจาก partial evidence และ good justment หรือมาจากการคิดต่อยอดจากความรู้ที่มีอยู่โดยผลงานนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งของหรือวิธีการใหม่ต้องมีการนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ หรือ commercialize ได้จริง หรือวัดจากมูลค่าหรือรายได้ที่เพิ่มขึ้นของผู้คิดค้นได้ จึงนับเป็น innovation ซึ่ง innovation นั้นมักจะเกิดได้ก็ต่อเมื่อ นักคิดค้นวิจัย หรือ innovator นั้นมีอิสระทางความคิด เกิดจาก inspiration หรืออาจเกิดจากแรงกดดัน เช่น ความต้องการใช้งาน ยกตัวอย่างเช่น หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มีนวัตกรรมผลิตออกมาใช้มากมาย สรุปปัจจัยของการเกิด innovation นั้น ต้องการความคิด (idea) ความร่วมมือ (colaboration and ecosystem) การมีทุนสนับสนุน (budget) และมีการนำไปใช้ (benefits) ”ปาฐกถาสุดท้ายก่อนพิธีลงนาม การเปิดศูนย์อย่างเป็นทางการ การเดินชมผลงานในศูนย์ที่ตั้งอยู่ ณ ชั้นใต้ดินตึก 4 ของโรงพยาบาลรามา นั้น ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้กล่าวถึง การใช้วิทยาศาสตร์ควบคู่กับนวัตกรรมทางการแพทย์ ในยุค 4.0 ชึ่งจับใจความได้ดังนี้ “จากข้อมูล …..ว่า สังคมโลกปัจจุบันเปลี่ยนไป เทคโนโลยีไร้พรมแดนทุกประเทศทั่วโลกสามารถเข้าถึงง่ายขึ้น และปัจจัยต่างๆ อีกมากมายทำให้ขณะนี้โลกเรามาถึงจุด Global resetting ที่ถ้ามองเป็นโอกาส คือ ทุกประเทศทั่วโลกมีโอกาสในการปรับตัวใหม่เท่าๆ กัน การเกิด National re-invention ครั้งนี้จะเป็นสาเหตุหลักของการเกิด Innovation โดย re-invention ที่สำคัญๆ เช่น ด้านการศึกษา (education) ด้านสังคมเมือง (city) และ สุขภาพ (health care) ซึ่ง การเปิดศูนย์ MIND แห่งนี้สามารถตอบโจทย์ของ re-invention ด้านสุขภาพได้ โดยศูนย์นี้จะเป็นแหล่งรวมของคนเก่งๆ เริ่มต้นจาก 3 คณะ ของมหิดลซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่มีความพร้อม ที่จะมาร่วมกันคิด ร่วมกันทำ และมีทุนสนับสนุนจากรัฐ ให้เกิดการสร้างผลงานที่นำมาใช้งานทางการแพทย์และสุขภาพได้และผลักดันเป็นศูนย์ต้นแบบได้ (Open Innovative in Health Care Platform) จากพลังความคิด พลังกาย ของคนในมหาวิทยาลัย และการสนับสนุนที่ดีของรัฐบาล

 

 

 

 

 

การลงนามบันทึกความร่วมมือนี้ร่วมลงนามโดยหัวหน้าหน่วยงานทั้ง 3 ท่าน คือคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ รศ.ดร.สิทธิวัฒน์ เลิศศิริ, คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ ผศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ และคณบดีคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ศ.นพ.ปิยะมิตร ศรีธรา และ มีอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ศ.นพ. บรรจง มไหสวริยะ ร่วมเป็นพยานในการลงนาม ทั้งนี้มี รศ.นพ.ม.ล.ชาครีย์ กิติยากร ผู้ช่วยคณะบดีฝ่ายวิจัย คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ทำหน้าที่หัวหน้าศูนย์ฯ

 

สำหรับข่าวผลงาน และข้อมูลการเปิดศูนย์ เพิ่มเติมติดตามได้จาก http://science.mahidol.ac.th/th/activity/aug61-27-1.php