สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพไทยจัดกิจกรรม ThaiBIO Knowledge Sharing ครั้งที่ 1 : ทรัพย์สินทางปัญญากับธุรกิจชีวภาพ

จบลงไปอีกหนึ่งกิจกรรมดีๆ …สำหรับโครงการ ThaiBIO Knowledge Sharing หรือกิจกรรมอบรมเชิงปฎิบัติการเรียนรู้วิทยาการ (update) ความรู้และเทคโนโลยีที่มีประโยชน์ต่อการดำเนินธุรกิจชีวภาพ จัดโดยสมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพไทย (ThaiBIO) ร่วมกับบริษัทสมาชิกเพื่อสร้างสรรค์สังคมแห่งการแบ่งปันและร่วมกันพัฒน กิจกรรมในครั้งนี้เป็นการจัดการสัมมนาในครั้งที่ 1 อบรมให้ความรู้ในหัวข้อเรื่อง “ทรัพย์สินทางปัญญากับธุรกิจชีวภาพ”(Intellectual property with Bio Business) โดยสมาคมไทยไบโอได้รับความร่วมมือจาก บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ในฐานะสมาชิกผู้ร่วมก่อตั้งและกรรมการสมาคมฯ ในการเป็นแม่งานจัดเตรียมการประชุม และได้วิทยากรมืออาชีพ นักจดสิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการคุ้มครอง และบังคับสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา จากบริษัท เร้าส์ แอนด์ โค อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทกฎหมายระหว่างประเทศซึ่งเป็นสมาชิกของสมาคมอีกบริษัทที่เข้ามาร่วมแบ่งปัน และทำให้เกิดกิจกรรมครั้งนี้ได้

การประชุมครั้งนี้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2561 ที่ ห้องประชุม Hexane ชั้น 12 ของตึก 1 อาคารสำนักงานใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ถ.วิภาวดีรังสิต เริ่มเปิดรับลงทะเบียนกันตั้งแต่เวลา 8.30 น. โดยในจำนวนผู้เข้าร่วมอบรมกว่า 50 ราย นอกจากบริษัทสมาชิกฯ อาทิเช่น Betagro, Bio Net-Asia, Green Innovation Biotechnology และ KEEEN ที่ส่งพนักงานเข้าร่วมอบรมแล้ว สมาคมไทยไบโอยังได้เชิญพันธมิตรจากภาคส่วนต่างๆ ทั้งจากทางภาครัฐ และบริษัทเอกชนที่มิได้เป็นสมาชิกแต่มีความสนใจได้ส่งผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับวิทยาการ ด้านเทคโนโลยีชีวภาพ และสิทธิบัตรสมัครเข้ามาร่วมกิจกรรมด้วย และได้รับเกียรติจาก น.สพ.รุจเวทย์ ทหารแกล้ว รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์เบทาโกร จำกัด ในฐานะกรรมการบริหารเป็นผู้แทนสมาคมฯ ในการกล่าวเปิดการประชุม จากนั้นเริ่มการสัมมนาโดยวิทยากรประสบการณ์สูง คุณมนูญ ช่างชำนิ ให้การบรรยายในหัวข้อทรัพย์สินทางปัญญา สิทธิบัตร และอนุสสิทธิบัตร ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจไบโอ ตามด้วย คุณ นรศักดิ์ สิงหเสนี กับหัวข้อ การจดเครื่องหมายการค้า ความสำคัญในการสร้างและการคุ้มครองเครื่องหมายการค้า หรือแบรนด์ ซึ่งธุรกิจที่ประสบความสำเร็จต่างๆ จะมีเครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักเป็นอย่างดี และมักมีการถูกปลอมแปลงใช้อยู่เสมอ ทำอย่างไรให้เราสามารถคุ้มครองแบรนด์ของเราได้โดยมีการยกตัวอย่างทั้งในประเทศและต่างประเทศ สำหรับใน sessions 3 มีวิทยากร 2 ท่าน ท่านแรก คุณฐิติยา เหลือบรัศมี นำเสนอกฎหมายสิทธิบัตร การคุ้มครอง ทรัพย์สินทางปัญญาด้านชีวภาพและการแบ่งปันผลประโยชน์ในประเทศไทย ท่านที่ 2 คุณอัจฉริยา สุนสิน ได้ค้นคว้าข้อมูลการจดสิทธิบัตรในปัจจุบันของประเทศไทยมานำเสนอ โดยการค้นข้อมูลตั้งแต่ปี 2005 จนถึงปัจจุบันพบว่ามีการยื่นขอจดสิทธิบัตรและอนุสิทธิบัตรจากนักวิจัยและเอกชนชาวไทยสูงขึ้นมาเป็นลำดับทุกปี ซึ่งเป็นที่น่าดีใจที่มีปริมาณผู้ยื่นจดสูงอยู่ในหลักหลายพันผลงานหรือสินค้าต่อปี แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า การได้รับอนุญาตยังคงมีอัตราต่ำ ซึ่งสาเหตุอาจมาจากหลายปัจจัย ทางผู้จัดคาดว่าหนึ่งในปัจจัยปัญหา อาจเกิดจากความไม่พร้อม การขอรับสิทธิบัตรและอนุสิทธิบัตรที่ไม่ชัดเจน หรือผู้ขออาจไม่เข้าใจและขาดประสบการณ์ในการขอจดสิทธิ์ การจัดการประชุมอบรมเชิงปฎิบัติการในครั้งนี้จึงอาจจะเป็นอีกหนึ่งจุดเริ่มต้นของผู้เกี่ยวข้องที่จะได้รับความรู้และข้อมูลเพิ่มเติม หรือมีแนวทางนำไปสู่การปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ การประชุมดำเนินมาจนถึง §ession สุดท้ายซึ่งเป็นการถาม-ตอบ ซึ่งใกล้จะหมดเวลามากเนื่องจากการนำเสนอเนื้อหาที่เข้มข้นและมีการซักถามกันในบางประเด็นในช่วงสัมมนา จึงวิเคราะห์ประเด็นคำถามได้เพียงไม่กี่หัวข้อ หนึ่งในห้วข้อที่ถูกตั้งจากท่านผู้รู้ในฟอร์ คือ “ความเหมาะสมของการขึ้นทะเบียน อนุสิทธิบัตร” ที่ทำให้ผู้เกี่ยวข้องต้องหันมาคิดกันว่าการจดอนุสิทธิบัตรนี้ อาจมีทั้งข้อดีต่องานด้านธุรกิจอุตสาหกรรม เป็นประโยชน์ สร้างมูลค่าได้มหาศาล ขณะเดียวกันต้องคิดถึงความเหมาะสมต่อการพัฒนาเทคโนโลยีด้วย

ก่อนจะปิดการประชุม ทางสมาคมฯ ได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ เกียรติคุณ อมเรศ ภูมิรัตน กรุณาเป็นตัวแทนสมาคมฯ มอบของที่ระลึกเพื่อเป็นการขอบคุณให้แก่ทั้งสองบริษัทสมาชิกที่ร่วมสนับสนุนการจัดกิจกรรมครั้งนี้ โดย คุณ อรุณรัตน์ วุฒิมงคลชัย ผู้จัดการฝ่ายวิจัยผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมและเทคโนโลยีเชื้อเพลิงทางเลือก สถาบันนวัตกรรม บริษัท ปตท. และคุณมนูญ ช่างชำนิ ผู้จัดการบริษัท เร้าส์ ประเทศไทย ให้เกียรติเป็นตัวแทนรับของที่ละลึกจากสมาคมฯ จากนั้น คุณอรุณรัตน์ วุฒิมงคลชัย ได้มอบของที่ละลึกจากทาง บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เพื่อเป็นการขอบคุณให้กับ วิทยากรทุกท่านในครั้งนี้ด้วย

ขอขอบคุณ…

สมาคมฯ ขอขอบคุณเป็นอย่างสูงสำหรับหน่วยงานภาครัฐ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สวทน.) สำนักงานส่งเสริมการวิจัย (สกว.) สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) สวก. และ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) TCELS ที่ส่งผู้เชี่ยวชาญและผู้แทนเข้าร่วมงาน โดยเฉพาะประชุมเชิงปฏิบัติการในช่วงการถาม-ตอบ ได้มีผู้ร่วมแชร์ ประสบการณ์และให้ความคิดเห็นเพื่อสร้างความกระจ่างในการทำงาน ซึ่งจะได้นำข้อมูลไปต่อยอดในการปฎิบัติงานได้ต่อไป

ขอขอบคุณทีมอำนวยการ
1. ดร.วสันต์ อริยพุทธรัตน์ ผู้ก่อตั้งและ CEO KEEEN LIMIT นายกสมาคมฯ
2. ดร.ยุทธนา สุวรรณโชคิ ผู้จัดการฝ่ายแผนและบริหารงานวิจัยและนวัตกรรม สถาบันนวัตกรรม บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ปตท. กรรมการสมาคมฯ
3.คุณอิ่มทรัพย์ ทรัพย์แก้ว ผู้จัดการส่วนพัฒนาองค์ความรู้และศักยภาพงานวิจัยและนวัตกรรม สถาบันนวัตกรรม บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน)

และสุดท้ายขอบคุณผู้ร่วมงานทุกท่าน

ทั้งนี้ VDO การให้อบรมสัมมนาในครั้งนี้ ทางสมาคมฯ และสมาชิกผู้ร่วมจัดประชุมจะได้นำมาเสนอเพื่อเผยแพร่ความรู้สู่ผู้ประกอบการ ธุรกิจไบโอเทค SME หรือ ผู้สนใจทั่วไปในลำดับต่อไป ติดตามได้ที่ FB แฟนเพจ#Thaibioassociation และเวปไซต์สมาคมฯ