สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพไทย (ThaiBIO) นำเสนอข่าว ภาพบรรยากาศ กิจกรรม ThaiBIO Knowledge Sharing กิจกรรมให้ความรู้ด้านเทคโนโลยีชีวภาพในหัวข้อเรื่อง Synthetic Biology: Biotechnology for Future of Thai Bio Industrieที่ร่วมกับศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) หรือ TCELS ในงาน Bio Asia Pacific 2022 และ Thailand LAB INTERNATIONAL 2022 ครั้งที่ 12 จัดโดย บริษัท วีเอ็นยู เอ็กซิบิชั่นส์ เอเชีย แปซิฟิค จำกัด มาแบ่งปันสู่สมาชิกแฟนเพจ
การสัมมนาครั้งนี้เราได้รับเกียรติจากวิทยากรที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญในเทคโนโลยีขั้นสูง molecular genetics มาให้ความรู้ในการใช้ศาสตร์นี้ในเชิงพาณิชย์ด้วยหลายท่าน
โดยก่อนเริ่มสัมมนา ดร.วสันต์ อริยพุทธรัตน์ นายกสมาคมฯ ได้กรุณากล่าวเปิดงานและพูดถึง Synthetic biology ในด้านที่จะสามารถเป็นผลิตภัณฑ์จากชีวภาพที่มีความเข้มข้นได้เหมือนผลิตภัณฑ์เคมี จากนั้นเริ่มจาก วิทยากรท่านแร Mr. Ma rk Dupal จากบริษัทTwist Bioscience บริษัทสัญชาติอเมริกา ขึ้นพูดในหัวข้อเรื่อง Writing the Future with Twist Bioscience ซึ่งได้กล่าวถึงประโยชน์ของการใช้ DNA ในอุตสาหกรรมด้านต่างๆ ตั้งแต่การปรับปรุงพันธุ์พืชจนถึงการใช้รักษาโรคร้ายแรงในมนุษย์ได้ เช่น โรคมะเร็ง Twist Bioscience ให้บริการ ทำ Next generation Sequencing (NSG) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่สามารถตรวจวิเคราะห์ หา DNA sequence ใน genome ของสิ่งมีชีวิต ได้อย่างรวดเร็ว แม่นยำ บริการจัดเก็บข้อมูล และผลิต DNA ที่เป็นยีนเป้าหมาย (DNA Target) ได้ในระยะเวลาอันสั้น ด้วย core technology ของบริษัท และยกตัวอย่างการบริการจัดเก็บข้อมูล Genome ของประชากรในAustralia ที่สามารถนำข้อมูลเหล่านั้นมาใช้ประโยชน์ ในการแข่งในกีฬาโอลิมปิคได้,
วิทยากรท่านต่อมา ดร.สโรชา สุทนต์ พูดในหัวข้อเรื่อง Thailand Landscape and Roadmap of Synthetic biology กล่าวถึงการใช้ประโยชน์ของ Synbiotic ซึ่งสามารถสร้างมูลค่าทางธุรกิจในอุตสาหกรรมต่างๆ มากมาย กลุ่ม Synbio ในไทย และพันธมิตรในต่างประเทศ รวมถึงนโยบายรัฐ และ facilities ที่สนับสนุนการทำ Synbiotic ในประเทศไทย ซึ่ง Synbiotic นี้สามารถต่อยอดมาจาก organism ที่ทราบคุณลักษณะที่ต้องการ หรือ จากข้อมูล DNA Target นำมาผลิตเป็น ผลิตภัณฑ์ที่เราต้องการได้ เช่น โปรตีน เอนไซม์ หรือ ยารักษาโรคต่างๆ
วิทยากรท่านต่อมา ผศ.ดร.เกียรติทวี ชูวงศ์โกมล co founder บริษัท ไบโอม จำกัด พูดในหัวข้อเรื่อง Development of Innovative Industrial Synthetic Biology Products โดยกล่าวเริ่มตั้งแต่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ จากการทำการวิเคราะห์ วิจัย ข้อมูล จนถึงการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของบริษัท ยกตัวอย่าง ผลิตภัณฑ์ชื่อ จุลินทรีย์คึกคัก ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ล้างพิษสะสมในดิน ที่พัฒนาตั้งแต่ต้นน้ำภายในบริษัท และออกวางตลาดแล้วในปัจจุบัน รวมถึงบริษัทยังมี ผลิตภัณฑ์ต่างๆที่อยู่ใน pipeline เช่น เอนไซม์ล้างผักยืดอายุพืชผล และผลิตภัณฑ์อื่นๆ กำลังจะออกตามมาในลำดับต่อไป ทั้งนี้ บริษัท ไบโอม ให้บริการให้คำปรึกษา ทำการวิจัย วิเคราะห์ ผลิตภัณฑ์ รวมถึงรับผลิตและร่วมทุนกับทุกองค์กร,
วิทยากรท่านต่อมา รศ.ดร. สุธีรา เตชคุณวุฒิ CEO and co founder จาก บริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด พูดเรื่อง Using Plants as a Plant for Synbiotic Bio ได้กล่าวถึงการใช้ต้นใบยาสูบเป็นโรงงานผลิตสารทางชีวภาพ เพื่อใช้เป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น เอนไซม์ วัคซีน ยา Biosimilars ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิผล เหมือนดังที่ตัวต้นแบบสร้างได้ ใบยามีผลงานผลิตภัณฑ์ต่างๆ มากมาย ตัวที่เด่นๆ และทุกท่านรู้จักกันดี เช่น ชุดตรวจโรคโควิด19 และ Recombinant vaccine ต่อโรคระบาดโควิด 19 บริษัท มี platform การสร้างสารชีวผลิตภัณฑ์ ที่หลากหลายได้จากต้นใบยาสูบ
วิทยากรท่านต่อมา นพ.ปริน รัตนานนท์ จากบริษัท เจเนพูติก ไบโอ จำกัด พูดเรื่องThe First CAR T cell Platform in Thailand ซึ่งบริษัทเป็น start up ที่ผลิตสารชีวผลิตภัณฑ์ ยา biosimilar ในกลุ่มภูมิคุ้มกันบำบัด สำหรับการรักษาที่มีความจำเพาะต่อผู้ป่วย โดยใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการนำT cell จากตัวผู้ป่วยมาวิเคราะห์ความจำเพาะนั้นๆ ทำการผลิตและจัดส่งยาที่ใช้รักษาโรคให้กับโรงพยาบาลเพื่อรักษาผู้ป่วยได้อย่างจำเพาะ ต่อไป บริษัทมี platform การผลิตและรับให้บริการผลิตผลิตภัณฑ์เซลล์ และยีนบำบัด เพื่อรักษาโรคสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาหลัก
วิทยากรท่านสุดท้าย ดร.ยศธชัย ผิวปานแก้ว จากบริษัท ไบโอแอคทีฟ จำกัด พูดเรื่อง Illuminar Next Generation Technology for Cancer Therapy กล่าวถึง การหา sequence ของ gene ที่ผิดปกติได้ในระดับ single base mutation โดยใช้เครื่อง Illuminar การวิเคราะห์ หาสาเหตุของโรคมะเร็งชนิดต่างๆจากการผิดปกติของยีน และนำมาซึ่งการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สุดท้ายแต่ไม่ท้ายสุด ดร.พิมพ์นภา ณีศะนันท์ ผู้จัดการสมาคมฯ เป็นตัวแทนสมาคมมอบของที่ละลึกเพื่อเป็นการขอบคุณวิทยากรทุกท่านที่มาร่วมแบ่งปันข้อมูลความรู้ ให้เราได้เห็นตัวอย่างการใช้เทคโนโลยีขั้นสูงที่จะเป็นประโยชน์ในการประกอบธุรกิจอุตสาหกรรมไบโอเทค และศักยภาพของผู้ประกอบการในไทยต่อไป
กล่าวโดยสรุปถึงประโยชน์ของ Synthetic Biology Product ว่าจะเป็น trend ในอนาคต ได้จากเทคโนโลยีที่มีความพร้อมสูง และประเทศไทยก็มี resource ของ Gene target/Gene marker ที่หลากหลาย มีนักวิจัย มีผู้ประกอบการต้นแบบ เหล่านี้ที่เป็นสมาชิกอยู่ในสมาคม รวมถึงภาครัฐที่มีนโยบายสนับสนุนธุรกิจอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพที่เป็น 1 ในอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ของประเทศ และตัวอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพเองที่ตอบโจทย์นโยบาย BCG Economy ของไทย รวมถึง SDGs ของ UN ได้หลายข้อ ซึ่งทางสมาคมก็จะได้จัดหาข้อมูล ความรู้ ที่น่าสนใจมานำเสนอผ่านกิจกรรม ThaiBIO Knowledge Sharing ในโอกาสต่อไป
โดยในวันที่ 20 ธันวาคมนี้สมาคมจะจัดกิจกรรม ThaiBIO Luncheon ให้กับสมาชิกในสมาคมได้เข้าร่วม และนำเสนอข้อมูลเชิงลึก ความลับของ DNA มนุษย์ ผู้ประกอบการไทยกับเทคโนโลยีขั้นสูง ที่จะนำไปสู่การสร้างนวัตกรรมด้านการแพทย์ และการบริการสำหรับผู้คนในสังคมปัจจุบันและอนาคตที่จะมีผู้สูงวัยเป็นสมาชิกส่วนใหญ่ในสังคมเพื่อการรักษา การมีสุขภาพอนามัยที่ดี ตลอดอายุขัย สมาชิกติดตามข่าวสารผ่านทาง ไลน์ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์สมาคมฯ หรือติดต่อสมาคมเพื่อไม่ให้พลาดที่นั่ง