งานประชุม Promoting Life Sciences Innovation with Investment (Promoting I with I) ครั้งที่ 4 (1/2561; ปีที่ 2)

สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพไทย (ThaiBIO) เก็บบรรยากาศภายในงาน Promoting I with I ในวันที่ 6 มีนาคม 2561 ณ โรงแรม Pullman G สีลม กรุงเทพ ซึ่งจัดต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 นับเป็นการจัดกิจกรรมการประชุมสัมมนา (seminar) เสนอผลงานวิจัย (pitching) นวัตกรรม และการจับคู่ธุรกิจ (business matching) นี้เป็นครั้งที่ 4 มาฝากสมาชิกแฟนเพจ

งานเริ่มรับลงทะเบียนกันตั้งแต่ 08.30 น. จากนั้น ดร. ศิรศักดิ์ เทพาคำ รอง ผอ. ศูนย์ความเป็นเลิศทางชีววิทยาศาตร์ และ ภก.ญ. สุวัฒนา จารุมิลินท์ ตัวแทนคุณ เชิญพร เต็งอำนวย จากบริษัทเกร็ทเทอร์ฟาร์มา อุปนายกสมาคมฯ กล่าวถึงที่มา วัตถุประสงค์ของการจัดงานและกล่าวเปิดการจัดงาน โดยกล่าวว่างานนี้เกิดขึ้นจากแนวคิดที่ต้องการสร้างเวทีให้งานวิจัยไทยและภาคเอกชนที่ทำผลิตภัณฑ์ทางเทคโนโลยีชีวภาพได้มีโอกาสมาพบกันเพื่อสนับสนุนให้เกิดการใช้ประโยชน์จากงานวิจัยไปสู่การผลิตในภาคอุตสาหกรรมให้ เกิดคุณค่าเชิงพาณิชย์ต่อประเทศ จาก ศ.เกียรติคุณ ดร. อมเรศ ภูมิรัตน โดยมีการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงาน 3 ส่วน ส่วนที่ 1. ตัวกลางที่ทำหน้าที่เชื่อมโยงจากภาครัฐก็คือ TCELS กับ ส่วนที่ 2 หน่วยงานให้ทุนงานวิจัยซึ่งทำหน้าที่ดูแลสนับสนุนนักวิจัยเข้ามาเสนองานวิจัย (สกว., สวก., และ สกอ.) ที่จะเป็นผู้ดูแลให้การสนับสนุนอำนวยความสะดวกในการถ่ายทอดเทคโนโลยีหลังการจับคู่ และ ส่วนที่ 3 องค์กรตัวแทนภาคเอกชน หรือสมาคมไทยไบโอซึ่งมีหน้าที่สนับสนุน นำภาคธุรกิจที่มีความต้องการรับเทคโนโลยีต้นแบบไปผลิต มาเข้าร่วมกิจกรรม
โครงการ Promoting l with I ในปีนี้ยังมีการขยายภาคส่วนองค์กรที่เกี่ยวข้องในการสนับสนุน ผลักดันให้เกิดธุรกิจนวัตกรรมของไทยเพิ่มเติม โดยได้เชิญ หน่วยที่มีโครงการวิจัย เข้าร่วมงานเพื่อให้เกิดความร่วมมือร่วมกันต่อไปเพื่อขยายขอบเขตการทำงานในวงกว้างขึ้น

ใน Seminar session ครั้งนี้ได้เชิญ ตัวแทนจากทั้ง 3 ส่วน มานำเสนอ Suscess story หัวข้อ “สารสกัดกวาวเครือขาวนาโนเจล สู่เครื่องสำอางผู้หญิง” ซึ่งเป็นความสำเร็จ ที่เกิดขึ้นจากการจัดกิจกรรมในงาน Promoting I with I ครั้งที่ 1 (1 มีนาคม 2560: link) ซึ่งตัวแทนส่วนที่ 1. ดร. สุวิมล สุรัสโม นักวิจัยจากศูนย์นาโนเทค สวทช. เจ้าของผลงานสารสกัดกวาวเครือขาวนาโนเจล มาแชร์ประสบการณ์ว่า จะทำงานกับภาคเอกชนอย่างไรให้ประสบผลสำเร็จ โดยเทคนิคการทำงานของ ดร. สุวิมลหลังจากที่ผลงานได้รับความสนใจจากภาคเอกชนแล้วสิ่งที่เธอทำทุกครั้งคือฟังและพยายามเข้าใจความต้องการของผู้รับถ่ายทอดให้มากที่สุด แล้วตั้งเป้าหมายนั้นคล้ายเป็นวัตถุประสงค์ของงานวิจัยและหาเครื่องมือหรือความรู้มาสนับสนุนจนกระทั้งได้ผลงานต้นแบบหรือเทคโนโลยีที่ตอบโจทย์ผู้ผลิตได้ ส่วนที่ 2 ตัวแทนจากภาคเอกชนผู้รับถ่ายทอด ภก.ญ สุวัฒนา จารุมิลินท์ จากบริษัทเกร็ทเทอร์ฟาร์มา ซึ่งเป็นบริษัทที่มีความพร้อมสูง มีศักยภาพในการรับถ่ายทอดโดยมีทีมวิจัยต่อยอดผลิตภัณฑ์ของบริษัทเองทำให้การพัฒนาจากต้นแบบเป็นผลิตภัณฑ์ทำได้รวดเร็ว และมีสายการผลิตเวชสำอางค์ในโรงงานผลิตที่มีมาตรฐาน จึงสามารถผลิตได้รวดเร็วและขึ้นทะเบียนได้ภายใน 6-7 เดือน หลังการทำสัญญา technology transfer และสุดท้ายส่วนที่ 3 หน่วยผู้ประสานงานจากการทำงานในความร่วมมือของโครงการ Promoting I with I สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.) ซึ่งนอกจากจะทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานโครงการแล้วยังทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงนักวิจัย ติดตามผลการเจรจาธุรกิจอย่างใกล้ชิด และอำนวยความสะดวกในการประสานงานซึ่งงานนี้จะต้องขอชื่นชมที่ได้เชื่อมต่อนำทุน Research Gab Fund. จาก สวทช. มาปิดช่องว่างรอยต่อระหว่างการถ่ายทอด งานวิจัย นวัตกรรมไทยสู่การผลิตภาคเอกชน ได้อย่างรวดเร็ว

Business pitching ในคราวนี้โครงการที่ได้รับเลือกมาเสนองานมีจำนวน 17 เรื่อง จาก สกว. สวก. ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์ (CEMB) และ สกอ. แบ่งเป็น 2 หมวดผลิตภัณฑ์หลัก คือ 1. เครื่องสำอาง อาหารเสริม และยา มีด้วยกัน 10 หัวข้อและหมวดอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ซึ่งมีทั้งหมด 7 หัวข้อ

หัวข้องานวิจัย

1.ผลิตภัณฑ์ชะลอความชราที่มีสารสกัดจากเนื้อเยื่อเพาะเลี้ยงจมูกข้าว

2.ลานาดีน จัสมิน ไรซ์ เอจ ดีไฟอิ้ง ครีม

3.อนุภาคนาโนไลโคปีน /นาโนครีมของสารสกัดมะเขือเทศเพื่อการถนอมผิว

4.S2-Soap:  สบู่ล้างมือผสมอนุภาคนาโนทองที่ผู้ใช้สามารถสัมผัสถึงความแข็งแรง (strong) ของเนื้อก้อนสบู่ และความนุ่ม (smooth) จากฟองสบู่สู่มือผู้ใช้

5.โครงการทดลองขยายขนาดการผลิตไฟโบรอินไฮโดรไลเสทและน้ำมันดัดแด้ไหมเพื่อการผลิตเครื่องสำอาง

6.สารสกัดจากพริกไทยดำเพื่อการรักษาโรคอุจจาระร่วง

7.น้ำนมข้าวที่มีเปปไทด์ออกฤทธิ์ทางชีวภาพ

8.โพรไบโอติกนมแพะอัดเม็ด

9.การวิจัยและพัฒนาเฝือกสำหรับแขนและขาจากยางธรรมชาติ

10.StrepKU วัคซีนควบคุมโรคสเตรปโตคอคโคซิสในปลานิล

11. Cells  bank   (ธนาคารเซล) : เซลล์เนื้อเยื่อเพื่อใช้เพื่อทดลองในห้องฎิบัติการ

12.ชุดตรวจวิเคราะห์โรคเกาต์เทียมด้วยสารเรืองแสง

13.การใช้โปรไบโอติกที่แยกได้จากกลุ่มประชากรชาวไทยชนิด Lactobacillus rhamnosus L34 เพื่อใช้ในการรักษาและป้องกันโรค

14.เครื่องนวดลดบวมแขนและขา

15.TAN Scale Application

16.ขาเทียมที่ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์

17.อุปกรณ์ตรวจวัดสารพันธุกรรมบนแผ่นกระดาษ

สำหรับท่านที่ ไม่ได้เข้าร่วมงานแต่สนใจในหัวข้อต่างๆ สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมมายังสมาคมได้หัวข้องานวิจัยที่นำมาเสนอครั้งนี้ได้รับความสนใจทำ Business matching จากผู้ประกอบการที่เข้าร่วมงาน กันอย่างคึกคัก มีคู่ Business matching มากกว่า 40 คู่โดยกิจกรรมการจัดงานประชุม Promoting I with I ครั้งที่4 ปิดลงที่ เวลา 17.00 น.

ในครั้งถัดไปจะจัดในช่วงเดือน กันยายน รายละเอียดจะเป็นอย่างไรทางสมาคม และหน่วยงานพันธมิตร จะประชาสัมพันธ์ให้ทราบอีกครั้งทาง E-mail Facebook pages และ เวปไซต์ ของทุกพันธมิตรผู้ร่วมจัดงาน