สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพไทย ขอนำเสนอ ข้อมูลความรู้ใน ThaiBIO Knowledge Sharing 3/2563 จากเสวนาเรื่อง… Investment opportunities of Medical Industry and Future Trend of Biopharma business in Thailand from COVID-19 Pandemic… ในงาน Thailand Lab international and BIO Asia Pacific 2020

สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพไทย ขอนำเสนอ ข้อมูลความรู้ใน ThaiBIO Knowledge Sharing 3/2563 จากเสวนาเรื่อง… Investment opportunities of Medical Industry and Future Trend of Biopharma business in Thailand from COVID-19 Pandemic… ในงาน Thailand Lab international and BIO Asia Pacific 2020
จากที่เสนอตอนที่ 1 ไปก่อนหน้านี้เป็นประสบการณ์จากภาคเอกชน…ซึ่งถ้ามองการสร้างเศรษฐกิจไทยเป็นการเล่นฟุตบอล เอกชนจะถูกเทียบเป็นกองหน้า และในตอนที่ 2 นี้ เสนอช่วงการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ สมาคมฯ ได้รับเกียรติจากวิทยากร 3 หน่วยงาน คือ EECi ที่เป็นหน่วยงานต้นน้ำหรือเทียบเท่ากองหลัง BOI เป็นกองกลางตัวรับ และ ThaiFDA ที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นคอขวดคอยสกัดกั้นฝ่ายเดียวกัน (ฮา) แต่วันนี้ อย. บอกว่าเขาเป็นประตู ….
เริ่มจากหน่วยงานแรก EECi ได้รับเกียรติจาก ดร. รวีภัทร์ ผุดผ่อง ผู้อำนวยการฝ่ายความร่วมมืออุตสาหกรรมสมัยใหม่ เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi) EECi เป็นโครงการสร้างเขตนวัตกรรมเพื่อพัฒนาต่อยอดงานวิจัยไปสู่อุตสาหกรรม ซึ่งแผนการจัดการและจัดการดำเนินการโดยสำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ สวทช. ที่เป็นแหล่งรวมคนระดับหัวกะทิของประเทศมาทำงาน โดยใน EECi สวทช.ได้มีแผนสร้างเมืองสนับสนุนอุตสาหกรรมไว้ 4 เมือง (รายละเอียดติดตามจากThaiBIO KS2/2562:… https://www.facebook.com/1666001887053568/posts/2411632315823851/?d=n) แต่ที่จะเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพและการแพทย์ มากที่สุดจะเป็น Biopolis …ที่เรียกว่าเมืองเนื่องจากนี้นอกจากจะมี Biotecnology infrastructures ที่จะสร้างไว้สำหรับงานพัฒนางานวิจัยสู่อุตสาหกรรม เช่น pilot plants ทั้ง GMP และ non-GMP facilities, Plant Factory, Technology sandbox ฯลฯ แล้ว สวทช. ยังประสานหน่วยงานอื่นๆ เข้ามาอยู่ในเขตนวัตกรรมนี้ด้วย ตัวอย่างเช่น ศูนย์วิจัยแสงซินโครตรอน, National Quality Institutes, หน่วยงานวิจัยของรัฐและเครือข่ายวิจัยมหาวิทยาลัยต่างๆ รวมถึงเปิดพื้นที่ให้เอกชนที่สนใจไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการ, ธนาคาร, investors, incubator ทั้งไทยและเทศเข้ามาเช่าพื้นที่ดำเนินกิจการเกี่ยวกับการวิจัย และกิจการที่สนับสนุนตลอด value chain…. รวมถึงการสร้างที่อยู่อาศัย โรงเรียน,โรงแรม, โรงพยาบาล และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ สำหรับบุคคลากรที่เข้ามาทำงานในพื้นที่ นอกจาก solid structure แล้ว soft side เช่น แผนที่นำทางเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (ITRM), แผนบริหารจัดการ ก็ถูกศึกษาเพื่อวางแผนสำหรับการบริหารจัดการเมืองนวัตกรรมนี้ด้วย เรียกว่าเมือง Biopolis นี้จะครบวงจรสำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการงาน RD เพื่อสร้างขีดความสามารถทางการแข่งขันของธุรกิจแห่งอนาคตนี้ได้เลย
หน่วยงานที่สอง BOI เราได้รับเกียรติจาก คุณ สุทธิเกตติ์ ทัดพิทักษ์กุล ผู้อำนวยการกองส่งเสริมการลงทุน 1 สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนหรือบีโอไอ ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐที่ทำหน้าที่ส่งเสริมการลงทุนของภาคเอกชน โดยกลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยชีวภาพ เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ BOI ให้การส่งเสริม และเป็นอุตสาหกรรมเป้าหมายที่สำคัญด้วย วิทยากรได้นำเสนอข้อมูล ภารกิจ BOI ว่ามีหลากหลายด้านไม่ว่าจะเป็นการให้ข้อมูลที่จะเป็นประโยชน์ต่อนักลงทุน การประสานงานแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวกับด้านการลงทุนในประเทศไทย และที่สำคัญคือ การให้สิทธิประโยชน์ที่ช่วยให้นักลงทุนได้ลดต้นทุนการดำเนินการในประเทศไทย ให้มีกำไรและคืนทุนได้เร็วขึ้น ซึ่งสิทธิประโยชน์ที่ว่าได้แก่ การยกเว้นอากรนำเข้าเครื่องจักร การยกเว้นอากรสำหรับวัตถุดิบในการผลิตเพื่อส่งออก และการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล การให้สิทธิประโยชน์การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล แต่ก่อนนั้น หลายคนจะคุ้นเคยกับการให้สิทธิประโยชน์ตามพื้นที่ที่ตั้งโรงงานหรือสถานประกอบการหรือที่เรียกว่า “BOI Zoning” แล้ว แต่ปัจจุบัน BOI จะให้สิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลมากน้อยขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีหรือกรรมวิธีการผลิต หรือที่เรียกว่า “Product-Based Incentives” แต่หากมีการตั้งสถานประกอบการอยู่ในพื้นที่พิเศษที่รัฐบาลกำหนด เช่น พื้นที่ EEC/EECi ก็อาจจะได้รับสิทธิประโยชน์การยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มเติม..สำหรับอุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยีชีวภาพซึ่งเป็นอุตสาหกรรมเป้าหมายและเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญเป็นพิเศษต่อประเทศไทยนั้น การให้สิทธิและประโยชน์ของ BOI จึงให้สูงกว่าอุตสาหกรรมอื่นๆ อีกหลายประเภทกิจการ โดยสิทธิประโยชน์พื้นฐานของกลุ่มกิจการด้านเทคโนโลยีชีวภาพ เช่น การผลิตยาชีววัตถุหรือวัคซีน จะได้รับการยกเว้นภาษีเงินนิติบุคคลได้เป็นเวลา 8 ปี ไม่จำกัดวงเงิน ทุกที่ตั้ง และหากมีความร่วมมือหรือถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับสถาบันการศึกษาในประเทศ ก็จะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มขึ้นเป็น 10 ปี หรืออาจจจะได้สูงสุดถึง 13 ปี หากตั้งในพื้นที่พิเศษหรือมีการทำวิจัยและพัฒนาในโครงการเพิ่มเติม… นอกจากการให้สิทธิประโยชน์ตามกฎหมายส่งเสริมการลงทุนแล้ว บีโอไอยังมีสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งจะให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเช่นเดียวกับกฎหมายส่งเสริมการลงทุน แต่ยังมีกองทุนเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันที่ BOI จะสนับสนุนการพัฒนาความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการด้วย หากมีการดำเนินการด้านวิจัยพัฒนา การขึ้นทะเบียนสิทธิบัตร หรือแม้แต่การซื้อทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property : IP) ที่สามารถนำผลงานวิจัยไปต่อยอดเชิงพาณิชย์ได้ นอกจากสิทธิประโยชน์ด้านภาษีแล้ว บีโอไอยังสามารถช่วยดำเนินความสะดวกในการประกอบธุรกิจให้กับผู้ประกอบการ ด้านการอนุมัติให้ผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศทำงานและพำนักอยู่ในประเทศไทย ได้สะดวกและง่ายกว่าช่องทางปกติ หรือแม้แต่การอนุญาตให้ต่างชาติสามารถซื้อและถือกรรมสิทธิที่ดินในโครงการที่ประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริมได้อีกด้วย……. จากที่วิทยากรได้นำเสนอ จะเห็นว่า ภาครัฐโดย BOI เป็นหน่วยงานที่จะช่วยอำนวยความสะดวกในการลงทุน รวมทั้งเป็นหน่วยงานที่ช่วยลดต้นทุนในการดำเนินงาน โดยการยกเว้นภาษีต่างๆ เพื่อให้ธุรกิจมีต้นทุนที่ต่ำลงและช่วยคืนทุนให้เร็วขึ้น รวมทั้งมีเครื่องมือที่จะช่วยสนับสนุนงานด้านวิจัยต่างๆ อีกด้วย
และหน่วยงานสุดท้ายสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ที่ไม่ใช่ขั้นตอนท้ายสุดของอุตสาหกรรมการแพทย์ นักลงทุนควรศึกษาหาข้อมูลก่อนเป็นผู้ผลิตยา เราได้รับเกียรติจาก ภก.วิทวัส วิริยะบัญชา ผู้แทนกองยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ที่กล่าวถึงหน้าที่หลักของ อย. คือการคุ้มครองผู้บริโภคเป็นสำคัญ โดยผลิตภัณฑ์ที่ได้รับเครื่องหมาย อย. จะต้องผ่านการพิจารณาหลักเกณฑ์ทุกด้านทั้ง คุณภาพ ความปลอดภัย และประสิทธิผล (quality, safety and efficacy) เพื่อนำมาใช้ในการประเมินประโยชน์และความเสี่ยงของผลิตภัณฑ์ยา ซึ่งคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้บริโภคเป็นหลักใหญ่ ดังนั้นการควบคุมดูแลให้เป็นไปตามมาตรฐานและความปลอดภัยจึงต้องมีความเข้มข้น…ด้วยเหตุนี้หน่วยงานจึงมักตกเป็นจำเลยในฐานะคอขวดที่ขัดขวางการพัฒนาอุตสาหกรรมอยู่เสมอ ซึ่งวันนี้วิทยากรได้มาเล่าให้ฟังถึงการเป็น “ประตู” ที่หมายถึงประตูที่ผู้ประกอบการสามารถผ่านไปได้เมื่อไขลูกกุญแจถูกดอก ผ่านขั้นตอนการวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ยาที่ถูกต้อง และนำเอกสารหลักฐานดังกล่าวมาใช้ประกอบการขึ้นทะเบียนตำรับยา ในปัจจุบันนี้ อย. ทำงานในรูปแบบใหม่ที่นำองค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์การกำกับดูแลผลิตภัณฑ์ (Regulatory science) มาประยุกต์ใช้ในกระบวนการกำกับดูแลผลิตภัณฑ์ที่มีความยืดหยุ่น (Regulatory flexibility) เป้าหมายเพื่อให้เกิดการส่งเสริมการเข้าถึงผลิตภัณฑ์ยาของประชาชน และผู้ป่วย รวมถึงเพื่อเป็นการแก้ไขสถานการณ์ทางด้านระบบสาธารณสุขต่าง ๆ ยกตัวอย่าง เช่น การอนุญาติให้ submit เอกสารผลความก้าวหน้าของการทดสอบยาหรือวัคซีนที่สำเร็จแต่ละขั้นไม่ต้องรอให้เสร็จทุกขั้นตอนทั้งหมดก่อน นวัตกรรมการทำงานเช่นนี้ส่งผลให้การขึ้นทะเบียนยาใหม่ทำได้สะดวกรวดเร็วขึ้น และจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในกรณีฉุกเฉินที่ต้องการยาหรือวัคซีนอย่างเร่งด่วน เข่น สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID 19 ในปัจจุบัน…นอกจากนี้ อย. ยังปรับหน่วยงานให้มีลักษณะเป็น facilitator สำหรับส่งเสริมขีดความสามารถของผู้ผลิตยาให้ได้มาตรฐาน ผ่านช่องทาง Scientific advisory ที่พัฒนาขึ้นเพื่อให้สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบ หลักเกณฑ์ และมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ยาที่ อย. กำหนด และเพื่อเป็นสะพานเชื่อมระหว่าง อย. กับผู้ประกอบการ ผู้ผลิตทุกราย…รวมถึงการส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือระหว่างอาจารย์ นักวิจัยนักวิชาการ และเอกชนรุ่นพี่ด้วย
สำหรับสิ่งที่เอกชนอยากเห็นเพิ่มเติม คือ ความต่อเนื่องของนโยบายของรัฐบาลที่มักมาเป็นวาระ, การทำงานบูรณาการร่วมกันของภาครัฐในหน่วยงานเดียวกัน หรือการทำข้ามหน่วยงาน ให้ทำงานประสานกัน ยกตัวอย่าง อาจมีโครงการร่วมกับกระทรวงพานิชย์ หรือกระทรวงการต่างประเทศซึ่งมีสำนักงานในทุกประเทศเปิดเป็นหน้าร้านด้วยนอกจากเป็นประตูบ้าน เพื่อเพิ่มตลาดของสินค้าหา การเพิ่ม Volume เท่ากับลดต้นทุน, เรื่องการทำ soft loan เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำสำหรับธุรกิจอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง มีการลงทุนขนาดใหญ่และใช้เวลานาน ที่เป็นอุตสาหกรรมเป้าหมายที่เมื่อลงทุนในไทยแล้วจะมีการจ้างแรงงาน มีสินค้าเทคโนโลยีที่มีมาตรฐานส่งออกได้ และสร้างความเข้มแข็งให้เศรษฐกิจไทยได้ เพราะ innovation product จะมีมูลค่ากว่า V2 และ ยิ่งมีเทคโนโลยีขั้นสูงจะเลียนแบบได้ยาก และคุ้มค่าต่อการจดสิทธิบัตร
ข้อสรุปสุดท้ายสำหรับการเสวนาระหว่างเอกชนอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพการแพทย์ไทยรุ่นบุกเบิก และเอกชนรุ่นใหม่ open innovation ที่พลังงานเปี่ยมล้น กับฝ่ายสนับสนุนจากภาครัฐ ที่ได้ผ่านร้อนหนาวกันมามากมาย ผ่านมาเจอกันก็มี discussions กัน เห็นตรงกันบ้าง..ต่างกันบ้าง..มาจนถึงวันนี้….”การได้ร่วมฟังและพูดคุยกันอย่างสร้างสรรค์ มีความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันในการสร้างความเข้มแข็งให้กับประเทศ…..ผ่านการสร้างอุตสาหกรรมเป้าหมายให้สำเร็จเพื่อให้ประเทศไทยหลุดจากกับดักรายได้ปานกลางม….ทำให้เราได้ยินเสียงของทุกคนชัดขึ้น .เข้าใจกันมากขึ้น”
สร้างความเป็นทีมไทยแลนด์…….ตามนโยบายรวมไทยสร้างชาติ……จะทำให้ทุกฝ่ายมีใจที่จะผ่านอุปสรรคที่เป็นความท้าทายที่เข้ามา…ให้ได้ร่วมกันทำงานเพื่อประเทศต่อไป…
สมาคมขอขอบพระคุณวิทยากรทุกท่าน, ผู้ดำเนินรายการ ดร.พัชราภรณ์ วงษา และทีมงานผู้มีล่วนเกี่ยวข้องในกิจกรรมครั้งนี้ทั้งจาก ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (TCELS) และสมาคม ThaiBIO ในการร่วมมือร่วมใจ จนประสบผลสำเร็จได้ ขอบคุณ บริษัท VNU สมาชิกที่น่ารักของสมาคมฯ อุปถัมป์ห้องจัดประชุม
ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ
ในภาพอาจจะมี ข้อความพูดว่า "Standard Product Based Incentive Packages years Exemption A1 activities focusing R&D oenhance country's competitiveness Exemption Import duties on machinery A2 Exemption Import duties on materials Merit years cap country's Thaiiand incentives High a3 activities whicha years Merit 5 Merit important few Thailand Activities A4 thanA1- chain B1 3 Merit technology butis usehigh B2 year Supporting industry that doesno buti stillimportant.tothe chain Merit years years Incentives are based on several key factors including level Think Resilience of technology, role in supply chain, and location. THINK THAILAND"
ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ