สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพไทย (ThaiBIO) ร่วมกับ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยโดย กลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ และเหล่าพันธมิตร ร่วมจัดกิจกรรม “FTI forum ครั้งที่ 4”ในงาน Thailand LAB INTERNATIONAL 2023

สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพไทย (ThaiBIO) นำภาพบรรยากาศ และเนื้อหาบางส่วนในการสัมมนาหัวข้อ “BIOTEC Breakthroughs for a Better Life นวัตกรรมเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อชีวิตที่ดีกว่า”ซึ่งจัดในวันที่ 6 กันยายน 2566 ในงาน Thailand Lab International 2023 ณ Hall 103-104 ไบเทค บางนา มาแบ่งปันค่ะ งานสัมมนานี้ได้รับเกียรติจาก ดร.ภก.ชาญณรงค์ เตชะอังกูล ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ สภาอุตสาหกรรม มากล่าวเปิดการสัมมนาและปาฐกถาในหัวข้อ “ทิศทางของอุตสาหกรรมไบโอเทคในประเทศไทย” ว่าอุตสาหกรรมไบโอเทคเป็นอุตสาหกรรมที่ตอบโจทย์เศรษฐกิจของประเทศไทยและทั่วโลก ประเทศไทยตั้งให้อุตสาหกรรมนี้อยู่ในเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี โดยจะกระตุ้นการสร้างอุตสาหกรรมและการลงทุนในประเทศ มุ่งอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น การผลิตสารเคมีชีภาพ สารตัวกลางหรือ ingredients, พลาสติกชีวภาพ อุตสาหกรรมการแพทย์และสุขภาพเป็นเป้าหมายแรกๆ ประเทศไทยมีความหลากหลายทางชีวภาพ, นโยบาย BCG และโครงการจากทางราชการ เช่น EECi, EEC และBOI สนับสนุน เขตระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก, ภาคเหนือตอนล่าง […]

สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพไทย(ThaiBIO) ขอนำภาพบรรยากาศ เอกสาร และ LIVE กิจกรรม น่าสนใจภายในงาน TRIUP FAIR 2023 มานำเสนอ

งาน “มหกรรมส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากงานวิจัยและนวัตกรรม TRIUP FAIR 2023” จัดขึ้นที่รอยัล พารากอนฮอลล์ ชั้น 5 ห้างสรรพสินค้าสยามพารากอน ระหว่างวันที่ 18-19 กรกฎาคม 2566 โดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือ สกสว. ร่วมกับภาคีเครือข่ายด้านวิจัยและนวัตกรรม เพื่อต้องการผลักดันการวิจัยและนวัตกรรมของไทยสู่การใช้ประโยชน์ได้อย่างเป็นรูปธรรม นอกจากการนำเสนองานวิจัยและนวัตกรรม การจับคู่ธุรกิจแล้ว ภายในงานผู้จัดได้รวบรวมหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการใช้ประโยชน์งานวิจัยตลอดห่วงโซ่อุปทาน ตั้งแต่ผู้ผลิตงานวิจัย ผู้ให้ทุน องค์กรภาครัฐที่เกี่ยวข้องสนับสนุน พูดได้ว่างานครั้งนี้ สวสก. เชิญเพื่อนหน่วยงานร่วมกระทรวง เช่น NSTDA, NIA, TCELS, PMU และ ข้ามกระทรวง เช่น สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม หรือ สมอ. (TISI) จากกระทรวงอุตสาหกรรม, สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร หรือ สวก. (ARDA) จากกระทรวงเกษตรฯ และ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (DBD), กรมส่งเสริมการส่งออก (DH IPT) จากกระทรวงพานิชย์ […]

สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพไทย (ThaiBIO) เชิญชวนเที่ยวงาน Thailand Local BCG Plus โดยกระทรวงพาณิชย์ สำหรับคนรักษ์โลก และ สนใจอุตสาหกรรม Bio-Circular-Green (BCG)

วันที่ 7 กรกฎาคม 2566 ดร.วสันต์ อริยพุทธรัตน์ นายกสมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพไทย ร่วมเป็นวิทยากรในการเสวนาหัวข้อ แรงบันดาลใจสู่ความสำเร็จ ของสินค้า Local BCG Plus..แชร์ประสบการณ์การทำธุรกิจในเครือ KEEEN biotech group จากแรงบันดาลใจเรื่องการรักษาสภาพแวดล้อม (Green) สู่การคิดค้นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากธรรมชาติ (BIO) ผ่านเทคโนโลยีการผลิตให้ได้ประสิทธิภาพ (H igh efficacy) และมาตรฐาน เพื่อย่อยสลายขยะ (Weste) ให้กลับมาเป็นสารตั้งต้นในระบบการสร้างพลังงานในสิ่งมีชีวิตต่อไป (Circular) พร้อมเผยเคล็ดลับการเป็นผู้นำสินค้า BGC plus ของผู้บริโภคปัจจุบัน งานนี้จัดที่ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 9 กรกฎาคม 2566 #อุดหนุนสินค้าไทย เศรษฐกิจหมุนเวียนในไทย #BCGeconomy #thailandlocalbcgplus #Localbcg+ #BCG #Biotechnology #ThaiBIOKnowledgeShairing #ThaiBIO_KS ฟังเสวนาฉบับเต็มได้ที่ https://www.facebook.com/LocalBCGPlus/videos/1581999918995495/

สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพไทย (ThaiBIO) จัดกิจกรรม ThaiBIO Be Your Guest ครั้งที่ 1/2566นำสมาชิกเข้าเยี่ยมศูนย์บริการการวิจัยและเทคโนโลยีการผลิตในกลุ่มอุตสาหกรรมชีวภาพสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)

วันที่ 22 มีนาคม 2566 ดร.ขวัญชนิตร ตันติเวชกุล กรรมการสมาคม พร้อมด้วย ดร.พิมพ์นภา ณีศะนันท์ ผู้จัดการสมาคม นำบริษัทสมาชิกผู้ประกอบการกลุ่มผู้ผลิตและใช้จุลินทรีย์ในอุตสาหกรรมเข้าเยี่ยมชมโดยศูนย์แรกคือ…ศูนย์นวัตกรรมการผลิตหัวเชื้อจุลินทรีย์เพื่ออุตสาหกรรม (Innovative Center for Production of Industrially used microorganisms หรือ ICPIM) ซึ่งเป็นศูนย์เชี่ยวชาญด้านการวิจัยและพัฒนา ด้านจุลินทรีย์โพรไบโอติกแบบครบวงจร การผลิตในระดับอุตสาหกรรมที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน GHPs & HACCP ต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ อาหาร ยาและเวชสำอางสำหรับมนุษย์ (ICPIM1) และ สารชีวภัณฑ์ด้านการเกษตร (ICPIM2) โดยให้บริการสายพันธุ์จุลินทรีย์โพรไบโอติกชนิดต่างๆ, พัฒนากระบวนการผลิต (Upstream & Downstream process)ในระดับอุตสาหกรรม สร้างต้นแบบการผลิตในเชิงพาณิชย์, บริการวิเคราะห์ทดสอบจุลินทรีย์และผลิตภัณฑ์ที่มีจุลินทรีย์เป็นส่วนประกอบ บริการทดสอบคุณสมบัติเชิงหน้าที่ของจุลินทรีย์โพรไบโอติก รวมทั้งงานบริการทดสอบพิษวิทยาต่อหน่วยพันธุกรรม ศูนย์ต่อมาเป็นศูนย์บริการนวัตกรรมเครื่องสำอางแบบครบวงจร (Innovative Cosmetic Services Center หรือ ICOS) ที่ผ่านการประเมินสถานที่ผลิตเครื่องสำอางจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข […]

สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพไทย (ThaiBIO) เข้าร่วมงาน “PTT Group Tech & Innovation Day”

วันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566 ดร.พิมพ์นภา ณีศะนันท์ ผู้จัดการสมาคมฯ เข้าเยี่ยมชมงาน “PTT Group Tech & Innovation Day” ซึ่งเป็นงานนิทรรศการแสดง นวัตกรรมแห่งอนาคตและเทคโนโลยีล้ำสมัยที่น่าสนใจจากบริษัทในเครือ ปตท. ครอบคลุมด้านพลังงานทดแทนเพื่อขับเคลื่อนทุกชีวิตดังที่ ปตท. ทุ่มเทเพื่อเป็นผู้ผลิตพลังงานให้กับประเทศมาตลอด, เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อมที่ใช้ได้จริงเพื่อมุ่งสู่ Net zero ในปี 2050 ตามเป้าหมายของบริษัทและการประกาศจุดยืนของประเทศโดยนายกรัฐมนตรีของไทยในงาน ประชุม COP27, เทคโนโลยียานยนต์ EV, IA, ระบบ logisticsและการติดตาม, นวัตกรรมด้านอาหาร การแพทย์ และสุขภาพจากบริษัทลูกด้านชีววิทยาศาสตร์ (life sciences) ในเครือ เช่น INOBIC, NRPT ที่สร้างสรรค์ผลงานสินค้าแห่งอนาคตเพียงเพื่อให้คนไทยก้าวสู่วันพรุ่งนี้ที่ดีกว่าเดิม นอกจากความรู้ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม ยังมีการแสดงตัวอย่างสินค้า และบริการใหม่ๆ จากบริษัทในเครือ ปตท. จัดให้ผู้เข้าร่วมงานได้สัมผัสที่บูธได้อย่างสร้างสรรค์ นอกจากนี้ ปตท. ได้จัดเวที Tech talk ซึ่งได้รับเกียรติจากวิทยากรที่มีชื่อเสียงจากทั้งในไทยและต่างประเทศ […]

กิจกรรมในงาน ThaiBIO Luncheon 2022 and Bio Business Seminar “Thailand Genomic Innovation and Power of ThaiBIO Member”

วันที่ 20 ธันวาคม 2565 สมาคมไทยไบโอได้มีการจัดประชุมกรรมการประจำไตรมาสสุดท้ายของปี 2565 นอกสถานที่ ณ ห้องบัลโคนี่ โรงแรม Bangkok Midtown ซึ่งเป็นสถานที่จัดงานThaiBIO Luncheon กระทั่งเวลา 11:45 น เริ่มมีสมาชิกทยอยมาลงทะเบียนหน้างาน เวลา 12 :00 น ดร.วสันต์ อริยพุทธรัตน์ นายกสมาคมฯ กล่าวเปิดงาน และแจ้งข่าวกับสมาชิกว่าจากนี้ต่อไปสถาณการณ์การระบาดของโควิดจะอยู่กับเราไปแบบ post pandemic Covid19 คือจะมาเป็นละลอกๆ ผู้คนต้องดำเนินชีวิตกันต่อไปโดยหมั่นดูแลสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ..สำหรับสมาคมเราจะจัดกิจกรรมที่สร้างสรรค์ประโยชน์ให้สมาชิกได้เข้าร่วมไตรมาสละ 1 ครั้งเป็นอย่างน้อย จากนั้นจึงเชิญแขกทุกท่านร่วมรัปประทานอาหาร …จนกระทั่ง 12.45 น. ใกล้ได้เวลาตามกำหนดการ ดร.พิมพ์นภา ณีศะนันท์ ผู้จัดการสมาคมฯ เรียนเชิญ ดร. ขวัญชนิตร ตันติเวชกุล ขึ้นมาแจ้งข่าวดีของบริษัท เบคไทยฯ จะมีพิธีเปิดตึกใหม่ของบริษัท ในวันที่ 9 มกราคม 2565 และเรียนเชิญสมาชิกในวันนั้นเข้าร่วมงาน หลังจากนั้น […]

สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพไทย(ThaiBIO) เข้าร่วมการประชุม “SynBio Forum 2022: SynBio for Sustainable Development Goals”

วันศุกร์ที่ 11 พฤศจิกายน 2565 ดร.ขวัญชนิตร ตันติเวชกุล กรรมการบริหารสมาคม พร้อมด้วยดร.พิมพ์นภ ณีศะนันท์ ผู้จัดการสมาคม เป็นตัวแทนเข้าร่วมงานประชุมภาคีเครือข่ายชีววิทยาสังเคราะห์แห่งประเทศไทย (Thailand SynBio Consortium) ในงานประชุม “SynBio Forum 2022: SynBio for Sustainable Development Goals” ที่จัดขึ้น ณ ห้องประชุม SD-601 ชั้น 6 อาคารสราญวิทย์ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย โดย 17 องค์กรผู้ก่อตั้งนำโดย สอวช. ในปีนี้ได้มีการเปิดตัวสมาชิกภาคีฯ ใหม่อีก 5 หน่วยงาน ได้แก่ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) มหาวิทยาลัยมหิดล บริษัท โกลบอล อาร์แอนดี จำกัด บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) และสมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพไทย (ThaiBIO) […]

สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพไทย (ThaiBIO) นำเสนอข่าว ภาพบรรยากาศ และวีดีโอกิจกรรม ThaiBIO Knowledge Sharing 2/2565

สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพไทย (ThaiBIO) นำเสนอข่าว ภาพบรรยากาศ กิจกรรม ThaiBIO Knowledge Sharing กิจกรรมให้ความรู้ด้านเทคโนโลยีชีวภาพในหัวข้อเรื่อง Synthetic Biology: Biotechnology for Future of Thai Bio Industrieที่ร่วมกับศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) หรือ TCELS ในงาน Bio Asia Pacific 2022 และ Thailand LAB INTERNATIONAL 2022 ครั้งที่ 12 จัดโดย บริษัท วีเอ็นยู เอ็กซิบิชั่นส์ เอเชีย แปซิฟิค จำกัด มาแบ่งปันสู่สมาชิกแฟนเพจ การสัมมนาครั้งนี้เราได้รับเกียรติจากวิทยากรที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญในเทคโนโลยีขั้นสูง molecular genetics มาให้ความรู้ในการใช้ศาสตร์นี้ในเชิงพาณิชย์ด้วยหลายท่าน โดยก่อนเริ่มสัมมนา ดร.วสันต์ อริยพุทธรัตน์ นายกสมาคมฯ ได้กรุณากล่าวเปิดงานและพูดถึง Synthetic biology ในด้านที่จะสามารถเป็นผลิตภัณฑ์จากชีวภาพที่มีความเข้มข้นได้เหมือนผลิตภัณฑ์เคมี จากนั้นเริ่มจาก วิทยากรท่านแร […]

“การพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ของไทย (Homemade Vaccine) โอกาสสร้างความยั่งยืนและภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจไทย”

สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพไทย (ThaiBIO) นำบทสัมภาษณ์ คุณวิทูรย์ วงศ์หาญกุล (Mr.Vaccine) ผู้ก่อตั้งและผู้บริหาร บริษัท ไบโอเนท-เอเชีย จำกัด นักธุรกิจไทยผู้นำการพัฒนา ผลิตและธุรกิจอุตสาหกรรมวัคซีนในประเทศสู่ตลาดสากล และ ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล รองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านเศรษฐกิจการเงินและการลงทุน อดีตรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีดูแลเศรษฐกิจ ให้สัมภาษณ์กับพิธีกรและนักข่าวชื่อดัง คุณ สุทธิชัย หยุ่น (Old Journalist Never dies) เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2563 ในหัวข้อ ”วัคซีน covid-19 กับความหว้งเศรษฐกิจไทย” มานำเสนอ สถาณการณ์การแพร่ระบาดของโควิด19 ของไทยในปัจจุบันเรายังคงอยู่ท่ามกลางพายุ (Strom eye) ของการระบาดรอบๆ ประเทศของเราและทั่วโลก, การเกิดการระบาดระลอก 2 รุนแรงกว่าและรับมือยากกว่ารอบแรก, วัคซีนไทยอยู่ที่ไหน, ภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันเป็นเช่นไร, อะไรคือทางออกของสถาณการณ์นี้ (covid-19 crisis), อะไรคือโอกาสของประเทศไทย #ThaiBIO_Knowledge_Sharing: กิจกรรมแบ่งปัน […]

ผู้แทนสมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพไทย (ThaiBIO) ร่วมงานเปิดศูนย์วิจัยจีโนมจุลินทรีย์ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์พรชัย มาตังคสมบัติ (Pornchai Matangkasombut Center for Microbial Genomics) หรือ CENMIG

วันที่ 11 พฤศจิกายน 2563 ดร.วสันต์ อริยพุทธรัตน์ นายกสมาคมฯ พร้อมด้วย ดร.พิมพ์นภา ณีศะนันท์ ผู้จัดกรสมาคมฯ เข้าร่วมแสดงความยินดีกับ “ศาสตราจารย์ เกียตรติคุณ ดร.นพ. พรชัย มาตังคสมบัติ ประธานที่ปรึกษาสมาคม, คณาจารย์ และบุคคลากรคนสำคัญของศูนย์ CENMIG ที่มุ่งศึกษาจีโนมเพื่อการพัฒนาที่ดีขึ้นของมนุษยชาติ อาทิ ศาสตราจารย์ นพ.ดร.ประสิทธิ์ ผลิตผลการพิมพ์ และ ดร.ภากร เอี้ยวสกุล ในโอกาสการเปิดศูนย์วิจัยฯ โอกาสนี้ ศาสตราจารย์ นพ.ประสิทธิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ได้กล่าวถึงความเป็นมาของการก่อตั้งศูนย์ CENMIG ว่าเกิดมาจากการสั่งสมองค์ความรู้ในการทำงานด้านการวิจัย genome ของคณาจารย์ในภาควิชาจุลชีววิทยา และท่านยกตัวอย่างผลจากความเชี่ยวชาญของการทำวิจัย genome ของเชื้อวัณโรคในไทยที่ทำให้พบความแตกต่างของ DNA sequence ของเชื้อในแต่ละภูมิภาคที่มีการวิวัฒนาการร่วมกับมนุษย์ที่เป็น host ในแต่ละภูมิภาคนั้นๆ เชื้อที่พบในไทยหลายตัวไม่สามารถจัดกลุ่มเข้ากับเชื้อที่รายงานพบจากภูมิภาคอื่นได้ ข้อพิสูจน์ในเชิงการใช้ประโยชน์ข้อหนึ่ง คือ วัคซีนป้องกันเชื้อวัณโรคที่ต่างประเทศผลิตมามีประสิทธิภาพในการป้องกันการเกิดโรคในคนไทย….น้อยกว่าที่ควร ส่งผลให้ยังคงมีปัญหาการพบผู้ป่วยวัณโรคในไทยมาก นอกจากนี้เกิดจากการจัดโครงการจัดเทรนนิ่งจากคณาจารย์ในภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลหลายท่าน […]

1 2 3 10