Blog

ตัวแทนคณะกรรมการและสมาชิกสมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพไทยเข้ารับฟ้งข้อมูลทุนวิจัย ณ สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช. )

วันที่ 24 กรกฎาคม 2563 ตัวแทนคณะกรรมการและสมาชิกสมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพไทย (ThaiBIO) นำโดย ดร.วสันต์ อริยพุทธรัตน์ จากบริษัท คีนน์ ในฐานะนายกสมาคม, น.สพ.รุจเวทย์ ทหารแกล้ว จากบริษัท เบธาโกร, คุณวิทูรย์ วงศ์หาญกุล จากบริษัท ไบโอเนท เอเชีย, คุณมารุต บูรณะเศรษฐกุล จากบริษัท ไบโอเจเนเทค, คุณวงศ์วริศ พาณิชธนานนท์ จากบริษัท เกร็ทเทอร์ฟาร์มา พร้อม ดร.พิมพ์นภา ณีศะนันท์ ผู้จัดการสมาคมฯ และ ผู้เกี่ยวข้อง เข้าพบ รศ.ดร.สิรี ชัยเสรี ผู้อำนวยการหน่วยบริหารจัดการทุน (PMU) ด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข. หรือ PMUC) เพื่อ สมาคมฯ รวบรวมข้อมูลของหน่วยงานบริหารจัดการทุน สรุปประเด็นเนื้อหาจากการเข้าหารือที่อาจมีประโยชน์ต่อผู้ประกอบการ มาแบ่งปัน PMU / Program Management Unit เป็นกลไกสำคัญในการบริหารงบประมาณวิจัยด้าน […]

ติดตามข่าวการพัฒนาวัคซีน covid-19 ในประเทศไทย

“การพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ของไทยมีความหวังแน่นอน”สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพไทย (ThaiBIO) ติดตามข่าวการพัฒนาวัคซีน… โพสต์โดย Thai Association for Biotech Industries : สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพไทย เมื่อ วันจันทร์ที่ 1 มิถุนายน 2020   สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพไทย (ThaiBIO) นำข้อมูล ข่าวสาร การติดตาม การพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคระบาด CoViD19 ในประเทศไทย… โพสต์โดย Thai Association for Biotech Industries : สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพไทย เมื่อ วันจันทร์ที่ 20 เมษายน 2020 สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพไทย (ThaiBIO) ติดตามความคืบหน้าการพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ของไทย นำเสนอข่าวโดย… โพสต์โดย Thai Association for Biotech Industries : สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพไทย เมื่อ วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤษภาคม 2020 สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพไทย […]

ดร.วสันต์ อริยพุทธรัตน์ นายกสมาคมร่วมประชุมเชิงวิชาการกับศูนย์อนามัยทั่วประเทศ ผ่าน Teleconference ในหัวข้อ “แนวทางการทำความสะอาด และฆ่าเชื้อไวรัสในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)” ณ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

วันที่ 9 เมษายน 2563 ดร.วสันต์ อริยพุทธรัตน์ นายกสมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพไทย (ThaiBIO) ร่วมประชุมเชิงวิชาการกับศูนย์อนามัยทั่วประเทศ ผ่าน Teleconference ในหัวข้อ “แนวทางการทำความสะอาด และฆ่าเชื้อไวรัสในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)” ณ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข โดยที่ประชุมมีข้อแนะนำการปฏิบัติ ทั้งเรื่องการรักษาสุขอนามัย และการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อม คือ ประชาชนต้องมีพฤติกรรมทางสุขภาพที่ดีเช่น การสวมหน้ากาก ล้างมือ เว้นระยะห่างทางสังคม ไม่บ้วนน้ำลายหรือเสมหะลงบนที่สาธารณะ และปฏิบัติโดยเคร่งครัด สำหรับการพ่นทำความสะอาด บนผิวหนัง ฆ่าเชื้อบนอุปกรณ์ อาคารสถานที่ ต้องคำนึงถึง ความเหมาะสมของชนิดของสารทำความสะอาดฆ่าเชื้อ ลักษณะที่จะนำไปใชั ประสิทธิภาพ และความปลอดภัยไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ สำหรับนวัตกรรมที่ยังไม่มีการรับรอง สำนักงานการวิจัยมีงบประมาณสนับสนุนการวิจัยเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีหรือวิธีการควบคุมเชื้อโคโรนาไวรัส 2019   สมาคมฯ นำข้อคิดเห็นของ ดร.วสันต์ นายกสมาคมฯ ในเรื่องสารทำความสะอาดฉีดพ่นจากที่ประชุมมาร่วมแบ่งปันในกิจกรรม ThaiBIO Knowledge Sharing Online…กิจกรรมรูปแบบใหม่ ติดตามจาก VDO clip ด้านล่าง […]

การติดตาม การพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคระบาด CoViD19 ในประเทศไทย จากเวทีแถลงข่าวสถานการณ์ไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงสาธารณสุข (สธ.)

สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพไทย (ThaiBIO) นำข้อมูล ข่าวสาร การติดตาม การพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคระบาด CoViD19 ในประเทศไทย จากเวทีแถลงข่าวสถานการณ์ไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) จ.นนทบุรี เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2563 มาสรุปและเรียบเรียงเพื่อสมาชิกแฟนเพจที่สนใจติดตามข่าวอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพของไทย….โดยการพัฒนาและผลิตวัคซีน เป็นธุรกิจสาขาหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีชีวภาพเป็นพื้นฐาน การแถลงข่าวครั้งนี้มีท่านวิทยากรที่ทำงานเกี่ยวข้องโดยตรงกับการพัฒนาวัคซีนในไทย 3 ท่าน กรุณามาให้ข้อมูล เริ่มจาก นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์, กล่าวชื่นชมความร่วมมือร่วมใจของพี่น้องประชาชนไทยทำให้คุมสถานการณ์ระบาดของCoViD19 ได้ นอกจากนี้ประชาชนยังสนใจติดตามว่าเมื่อไรเราจึงจะผ่านพ้นเหตุการณ์นี้ได้โดยช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมามีประชาชนจำนวนมากสนใจติดตามข่าวในประเด็นเรื่องวัคซีนป้องกัน CoViD19 เป็นจำนวนมาก เนื่องจากวัคซีนเป็นคำตอบหนึ่งในการควบคุมเชื้อได้และคนไทยคุ้นเคยกับวัคซีนเป็นอย่างดีเนื่องจากเคยได้รับการฉีดวัคซีนไข้ทรพิษ หรือฝีดาษ (ปลูกฝี) เพื่อกระตุ้นการสร้างภูมิต้านทานโรคกันมาตั้งแต่ หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 (>>หรือประมาณ พ.ศ. 2378 จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2523 องค์การอนามัยโลกได้ประกาศว่าโรคฝีดาษหมดไปจากโลกแล้ว จึงหยุดการปลูกฝีเพื่อป้องกันโรคนับแต่นั้นมา ปัจจุบันในประเทศไทยมีการให้วัคซีนพื้นฐานที่ให้แก่ประชาชนเพื่อป้องกันโรคจำนวน 10 คือ โรควันโรค คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก โปลิโอ หัด […]

กิจกรรม ThaiBIO Knowledge Sharing Online 1/2020“ผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID19 ต่อธุรกิจอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ”

สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพไทย (ThaiBIO) นำ กิจกรรมรูปแบบใหม่ ThaiBIO Knowledge Sharing Online 1/2020….ในหัวข้อ “ผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID19 ต่อธุรกิจอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ”   จากบทสัมภาษณ์ ดร.วสันต์ อริยพุทธรัตน์ นายกสมาคมฯ ในฐานะผู้บริหารบริษัทเอกชนที่ประกอบธุรกิจเทคโนโลยีชีวภาพ, ในฐานะผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจอุตสาหกรรมบนพื้นฐานความรู้เทคโนโลยีชีวภาพทั้งในองค์กรภาคเอกชนและภาครัฐ….และนำเสนอเพื่อแบ่งปันข้อมูลและประสบการณ์ ในการปรับตัวของธุรกิจอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพช่วงวิกฤตการณ์ ….   เหตุการณ์ของโรคติดเชื้อไวรัส COVID19 ที่ระบาดเป็นวงกว้างอย่างรวดเร็ว เกิดเป็นวิกฤตร่วมกันไปทั่วโลก และส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของทุกคนบนโลกไปจนถึงระดับมหภาคอย่างเศรษฐกิจ โครงสร้างสังคม และการเมืองระหว่างประเทศ สำหรับผลกระทบต่อธุรกิจอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ ดร.วสันต์ มีความเห็นและปรับตัว อย่างไร สมาคมฯ นำสรุปประเด็นจากบทความในบทสัมภาษณ์ (ติดตาม รายละเอียด เพิ่มเติม http://www.thaibio.or.th/wp-content/uploads/2020/04/บทความ-ThaiBIOKS1-2020_VA.pdf) มานำเสนอ   “เหตุการณ์ ระบาดของโรคติดเชื้อ COVID19 ซึ่งมีอันตรายต่อสุขภาพจนถึงขั้นเป็นอันตรายแก่ชีวิตแพร่ระบาดทางอากาศได้ในบางสภาวะ ทำให้เกิดความตื่นตระหนกของคนในปัจจุบัน และด้วยการแพร่ระบาดที่ติดต่อกันได้ง่ายนี้จึงต้องมีการประกาศ พรบ. ฉุกเฉิน จากรัฐบาลไทย และให้หยุดกิจกรรมที่มีการติดต่อกันของผู้คนให้มากที่สุดส่งผลกระทบต่อธุรกิจอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ดังนั้นผู้ประกอบการอย่าตระหนกตามไปด้วยแต่ให้ตระหนัก…..หลายธุรกิจในประเทศได้รับผลกระทบโดยตรงทำให้ต้องปิดตัวลง โดยเฉพาะการบริการที่ต้องพบเจอกัน เช่น การท่องเที่ยว […]

สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพไทย (ThaiBIO) ขอร่วมแสดงความยินดีและเป็นกำลังใจกับ BioNet Asia และ 9 หน่วยงาน ในการลงนามความร่วมพัฒนาวัคซีนป้องกัน COVID-19 ij;,dy[

สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพไทย (ThaiBIO) ขอร่วมแสดงความยินดี และเป็นกำลังใจให้กับคุณวิทูรย์ วงศ์หาญกุล บริษัท ไบโอเนท-เอเชีย จำกัด และ อีก 10 หน่วยงานไทยในการลงนามความร่วมผนึกกำลังเพื่อเร่งพัฒนาวัคซีนป้องกัน COVID-19 วันที่ 28 ก.พ. ที่ห้องประชุมชัยนาทนเรนทร อาคาร 1 ชั้น 2 สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข นพ.สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานในพิธีการลงนามความร่วมมือเพื่อการพัฒนาวัคซีนป้องกัน COVID-19 และการวิจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในประเทศ ร่วมกับผู้แทน 11 หน่วยงาน ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยมหิดล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ บริษัท ไบโอเนท-เอเชีย จำกัด สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กรมการแพทย์ กรมควบคุมโรค กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาองค์การเภสัชกรรม และสถาบันวัคซีนแห่งชาติ VDO แถลง : https://youtu.be/CPZldDGfkoU ข่าวสารเพิ่มเติม https://mahidol.ac.th/th/2020/covid-19-th/ https://today.line.me /th/article/ไทยเร่งวิจัยวัคซีนป้องกัน+โควิด+19-v91gxj https://siamrath.co.th/n/135942 https://today.line.me/…/ไทยเร่งวิจัยวัคซีนป้องกัน+โควิด+19-… […]

สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพไทย (ThaiBIO) ขอร่วมรณรงค์ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ Covid 19

สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพไทย (ThaiBIO) ขอร่วมรณรงค์ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรคระบาด Covid 19 แชร์ ข้อคิดเห็นดีๆ จาก ศ.ดร.นพ.พรชัย มาตังคสมบัติ ที่ปรึกษาสมาคมฯ กับ “ข้อเท็จจริงของเชื้อ Covid 19 และ ความสำคัญของการป้องกัน”…. ข้อมูลพื้นฐานที่คนมักเข้าใจไม่ค่อยถูกต้องจนทำให้บางครั้งก็ตื่นตระหนกเกินไป แต่บางส่วนกลับไม่สนใจระมัดระวังครับ 1) Covid19 นี้มีจุดเด่นคือติดง่ายและกระจายกว้างขวางครับ 2) เหตุที่กระจายมากเพราะเป็นไวรัสที่ก่ออาการไม่รุนแรงนัก คนรับเชื้อส่วนมากไม่มีอาการ จึงเดินทางไปทั่ว ไปไกล ทำให้แพร่กระจายได้ไกล และเร็วมาก (One World One Health) 3) คนที่มีอาการแล้วยืนยันแล้วว่าเป็นเเชื้อนี้มีอัตราตายเฉลี่ยประมาณ 2%กว่า เมื่อเทียบกับ Sars 10% Mers 35% นับว่าเบากว่ามากครับ ในคนอายุน้อยมักจะมีอาการไม่ค่อยรุนแรงแต่คนสูงวัยและคนมีปัญหาสุขภาพเดิมโดยเฉพาะโรคเรื้อรังทางระบบหายใจจะมีอัตราตายสูงกว่ามากครับ 4) ข้อที่น่ากลัวมาก แม้ว่าจะมีอันตรายไม่สูงนักคือการติดง่ายและกระจายได้เร็ว เผลอไม้ได้จะกระจายกว้างขวางมากเอาไม่อยู่ ลองคิดดูครับ”ว่าถ้าคนติดนับร้อยนับพันล้านคน ดูแลไม่ทัน อัตราตายที่ต่ำจะกลายเป็นตัวเลขตายที่สูงน่ากลัวตรงนี้ครับ !!!” ดังนั้นทุกคนต้องช่วยระมัดระวังไม่ให้กระจายและให้ความร่วมมือเต็มที่ครับประมาทไม้ได้เลยครับ ตอนนี้ประเทศไทยรับเต็มๆ จากจีนนับว่ามากกว่าใครอื่นทั้งหมดครับ น่าชื่นชมผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่ประทังไว้ได้ดียังไม่มีการกระจายระดับสามแต่คงชลอได้ระยะหนึ่งแล้วเข้าระยะสามช้าหน่อยครับ […]

ช่วง Free talk (ปล่อยของ)ในงาน ThaiBIO Executive Luncheon 2020

สมาคมเทคโนโลยีชีวภาพไทย (ThaiBIO) นำเสนอใจความสำคัญช่วงหนึ่งช่วง Free talk (ปล่อยของ)ในงาน ThaiBIO Executive Luncheon 2020 สุดยอดการรวมพลผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้ประกอบการอุตสาหกรรมสายเทคโนโลยีชีวภาพในเมืองไทยบนเวที ThaiBIO Talks ซึ่งช่วงนี้ได้รับเกียรติจากผู้บริหารบริษัทสมาชิก และศาสตราจารย์นักวิจัย ผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยวิจัยแนวหน้าของไทยได้ให้เกียรติร่วมแชร์ประสบการณ์ รวม 5 ท่าน โดย ท่านแรก คุณชาญณรงค์ แสงเดือน ผู้ก่อตั้ง และผู้บริหาร บริษัท ไบโอไดเวอร์ซิตี้ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ซึ่งท่านเป็นนักสื่อสารมวลชนที่หันมาสนใจธุรกิจไบโอเทคฯ ด้วยด้วยความเป็นนักหาข้อมูล วิเคราะห์เพื่อนำเสนอระดับมืออาชีพ ท่านทราบว่าเมืองไทยเป็นประเทศที่มีไบโอไดเวอร์ซิตี้สูงเป็นอันดับ 8 ของโลก มีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติในอันดับต้นๆ แต่เรายังไม่ค่อยสนใจจะเสาะหาคุณค่าที่สำคัญของทรัพยากรกลับขายเป็นวัตถุดิบทำให้ได้รายได้ต่ำ ท่านกรุณาแบ่งปันประสบการณ์ ว่า…เมื่อ 6 ปีก่อนท่านเริ่มต้นธุรกิจไบโอเทคด้วยการเลี้ยงแมลงเพื่อผลิตโปรตีน แต่พอทำมาสักพักข้อมูลที่ท่านพบคือคู่แข่งผู้ผลิตโปรตีนแมลงต่างชาติที่ทุนหนามีมากมาย และพบว่านอกจากโปรตีนแล้วแมลงมีไขมันชนิดที่ละลายน้ำได้เป็นสารสำคัญที่ใช้ในวงการ อาหาร และเครื่องสำอาง ซึ่งเป็นผลผลิตที่มีมูลค่าสูงกว่าและยังไม่มีคู่แข่ง ท่านจึงทำการทดสอบและจดสิทธิบัตรเพื่อผลิตเป็น ingredients และผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ ปัจจุบัน phosphosect ของท่านมีบริษัทจากต่างชาติสนใจ เนื่องจากความเป็นเจ้าของผลงานที่แตกต่าง ตอบโจทย์ […]

“บทบาทของกระทรวงการต่างประเทศในการส่งเสริมความร่วมมือด้านนวัตกรรมกับต่างประเทศ” โดย ฯพณฯ ท่านจักร บุญหลง

สมาคมเทคโนโลยีชีวภาพไทย (ThaiBIO) นำเสนอใจความสำคัญช่วงหนึ่งของการปาฐกถาจากงานสุดยอดการรวมพลผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้ประกอบการอุตสาหกรรมสายเทคโนโลยีชีวภาพในเมืองไทยบนเวที ThaiBIO Talks ในงาน ThaiBIO Executive Luncheon 2020 ในวันที่ 23 มกราคม 2563 กิจกรรม ThaiBIO Talks ในช่วง Spacial talk เป็นหัวข้อที่คัดสรรมาพิเศษโดยอาจจะเป็นหัวข้อที่เป็นประโยชน์กับการทำธุรกิจไบโอเทค มีความทันสมัย อยู่ในความสนใจ เป็น และ หาฟังได้ไม่ง่ายนัก ซึ่งช่วงนี้ได้รับเกียรติจากแขกรับเชิญพิเศษ 2 ท่าน ที่เป็นอดีตเอกอัครราชทูตที่มีผลงานโดดเด่น และเป็นประโยชน์กับการพัฒนาเทคโนโลยีของประเทศเป็นอย่างยิ่ง ท่านที่ 2 ฯพณฯ ท่านจักร บุญหลง อดีตเอกอัครราชทูตประจำประเทศอิสราเอล, นอรเวย์, เมียนมา ซึ่งท่านเป็นผู้มีจิตสาธารณะ เป็นนักปฎิบัติที่ลงมือทำทุกอย่าง ปัจจุบันยท่านทำงานที่ สำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) กรุณามาบรรยายในหัวข้อ “บทบาทของกระทรวงการต่างประเทศในการส่งเสริมความร่วมมือด้านนวัตกรรมกับต่างประเทศ” โดยท่านเล่าว่างานทูตและกระทรวงการต่างประเทศกับอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพในมุมของท่านก่อนหน้านี้ดูเป็นสิ่งที่ไกลกันมาก แต่พอได้มารู้จักกับ ดร.วสันต์ นายกสมาคมฯ พูดคุยกันจึงทราบว่า งานที่ท่านทำอยู่ มีความเกี่ยวข้องและสำคัญมากในเรื่องการพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพในเมืองไทย และยังส่งผลไปถึงการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในอนาคตได้ […]

‘นโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) กับความร่วมมือต่างประเทศ’ โดย ฯพณฯ ท่านสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว

สมาคมเทคโนโลยีชีวภาพไทย (ThaiBIO) นำเสนอใจความสำคัญช่วงหนึ่งของการปาฐกถาจากงานสุดยอดการรวมพลผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้ประกอบการอุตสาหกรรมสายเทคโนโลยีชีวภาพในเมืองไทยบนเวที ThaiBIO Talks ในงาน ThaiBIO Executive Luncheon 2020 ในวันที่ 23 มกราคม 2563 กิจกรรม ThaiBIO Talks ในช่วง Spacial talk เป็นหัวข้อที่คัดสรรมาพิเศษโดยอาจจะเป็นหัวข้อที่เป็นประโยชน์กับการทำธุรกิจไบโอเทค มีความทันสมัย อยู่ในความสนใจ เป็น และ หาฟังได้ไม่ง่ายนัก ซึ่งช่วงนี้ได้รับเกียรติจากแขกรับเชิญพิเศษ 2 ท่าน ที่เป็นอดีตเอกอัครราชทูตที่มีผลงานโดดเด่น และเป็นประโยชน์กับการพัฒนาเทคโนโลยีของประเทศเป็นอย่างยิ่ง ท่านแรก ฯพณฯ ท่านสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว อดีต ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ อดีต เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโตเกียว ประเทศ ญี่ปุ่น, กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส และ อีกหลายหลายประเทศ ปัจจุบันท่านดำรงค์ตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาโครงการ EEC ท่านกรุณามาให้การปาฐกถาในหัวข้อ ‘นโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) กับความร่วมมือต่างประเทศ’ โดยท่านส่งสาร […]

1 2 3 4 5 12