สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพไทย (ThaiBIO) นำเสนอข่าว ภาพบรรยากาศ และวีดีโอกิจกรรม ThaiBIO Knowledge Sharing 2/2565

สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพไทย (ThaiBIO) นำเสนอข่าว ภาพบรรยากาศ กิจกรรม ThaiBIO Knowledge Sharing กิจกรรมให้ความรู้ด้านเทคโนโลยีชีวภาพในหัวข้อเรื่อง Synthetic Biology: Biotechnology for Future of Thai Bio Industrieที่ร่วมกับศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) หรือ TCELS ในงาน Bio Asia Pacific 2022 และ Thailand LAB INTERNATIONAL 2022 ครั้งที่ 12 จัดโดย บริษัท วีเอ็นยู เอ็กซิบิชั่นส์ เอเชีย แปซิฟิค จำกัด มาแบ่งปันสู่สมาชิกแฟนเพจ การสัมมนาครั้งนี้เราได้รับเกียรติจากวิทยากรที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญในเทคโนโลยีขั้นสูง molecular genetics มาให้ความรู้ในการใช้ศาสตร์นี้ในเชิงพาณิชย์ด้วยหลายท่าน โดยก่อนเริ่มสัมมนา ดร.วสันต์ อริยพุทธรัตน์ นายกสมาคมฯ ได้กรุณากล่าวเปิดงานและพูดถึง Synthetic biology ในด้านที่จะสามารถเป็นผลิตภัณฑ์จากชีวภาพที่มีความเข้มข้นได้เหมือนผลิตภัณฑ์เคมี จากนั้นเริ่มจาก วิทยากรท่านแร […]

ผู้แทนสมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพไทย (ThaiBIO) ร่วมงานเปิดศูนย์วิจัยจีโนมจุลินทรีย์ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์พรชัย มาตังคสมบัติ (Pornchai Matangkasombut Center for Microbial Genomics) หรือ CENMIG

วันที่ 11 พฤศจิกายน 2563 ดร.วสันต์ อริยพุทธรัตน์ นายกสมาคมฯ พร้อมด้วย ดร.พิมพ์นภา ณีศะนันท์ ผู้จัดกรสมาคมฯ เข้าร่วมแสดงความยินดีกับ “ศาสตราจารย์ เกียตรติคุณ ดร.นพ. พรชัย มาตังคสมบัติ ประธานที่ปรึกษาสมาคม, คณาจารย์ และบุคคลากรคนสำคัญของศูนย์ CENMIG ที่มุ่งศึกษาจีโนมเพื่อการพัฒนาที่ดีขึ้นของมนุษยชาติ อาทิ ศาสตราจารย์ นพ.ดร.ประสิทธิ์ ผลิตผลการพิมพ์ และ ดร.ภากร เอี้ยวสกุล ในโอกาสการเปิดศูนย์วิจัยฯ โอกาสนี้ ศาสตราจารย์ นพ.ประสิทธิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ได้กล่าวถึงความเป็นมาของการก่อตั้งศูนย์ CENMIG ว่าเกิดมาจากการสั่งสมองค์ความรู้ในการทำงานด้านการวิจัย genome ของคณาจารย์ในภาควิชาจุลชีววิทยา และท่านยกตัวอย่างผลจากความเชี่ยวชาญของการทำวิจัย genome ของเชื้อวัณโรคในไทยที่ทำให้พบความแตกต่างของ DNA sequence ของเชื้อในแต่ละภูมิภาคที่มีการวิวัฒนาการร่วมกับมนุษย์ที่เป็น host ในแต่ละภูมิภาคนั้นๆ เชื้อที่พบในไทยหลายตัวไม่สามารถจัดกลุ่มเข้ากับเชื้อที่รายงานพบจากภูมิภาคอื่นได้ ข้อพิสูจน์ในเชิงการใช้ประโยชน์ข้อหนึ่ง คือ วัคซีนป้องกันเชื้อวัณโรคที่ต่างประเทศผลิตมามีประสิทธิภาพในการป้องกันการเกิดโรคในคนไทย….น้อยกว่าที่ควร ส่งผลให้ยังคงมีปัญหาการพบผู้ป่วยวัณโรคในไทยมาก นอกจากนี้เกิดจากการจัดโครงการจัดเทรนนิ่งจากคณาจารย์ในภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลหลายท่าน […]

สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพไทย ขอนำเสนอ ข้อมูลความรู้ใน ThaiBIO Knowledge Sharing 3/2563 จากเสวนาเรื่อง… Investment opportunities of Medical Industry and Future Trend of Biopharma business in Thailand from COVID-19 Pandemic… ในงาน Thailand Lab international and BIO Asia Pacific 2020

สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพไทย ขอนำเสนอ ข้อมูลความรู้ใน ThaiBIO Knowledge Sharing 3/2563 จากเสวนาเรื่อง… Investment opportunities of Medical Industry and Future Trend of Biopharma business in Thailand from COVID-19 Pandemic… ในงาน Thailand Lab international and BIO Asia Pacific 2020 จากที่เสนอตอนที่ 1 ไปก่อนหน้านี้เป็นประสบการณ์จากภาคเอกชน…ซึ่งถ้ามองการสร้างเศรษฐกิจไทยเป็นการเล่นฟุตบอล เอกชนจะถูกเทียบเป็นกองหน้า และในตอนที่ 2 นี้ เสนอช่วงการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ สมาคมฯ ได้รับเกียรติจากวิทยากร 3 หน่วยงาน คือ EECi ที่เป็นหน่วยงานต้นน้ำหรือเทียบเท่ากองหลัง BOI เป็นกองกลางตัวรับ และ ThaiFDA ที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นคอขวดคอยสกัดกั้นฝ่ายเดียวกัน (ฮา) แต่วันนี้ […]

สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพไทย (ThaiBIO) จัดกิจกรรม ThaiBIO Knowledge Sharing 3/2563 เสวนาเรื่อง Investment opportunities of Medical Industry and Future Trend of Biopharma business in Thailand from COVID-19 Pandemic

สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพไทย (ThaiBIO) จัดกิจกรรม ThaiBIO Knowledge Sharing 3/2563 เสวนาเรื่อง Investment opportunities of Medical Industry and Future Trend of Biopharma business in Thailand from COVID-19 Pandemic ในงาน Thailand Lab International and BIO Asia Pacific 2020 ณ MR 220 ไบเทค บางนา เป็นที่น่าเสียดายด้วยระบบ online เกิดขัดข้องจึงไม่สามารถ on air การเสวนาครั้งนี้ซึ่งเนื้อหาในรายละเอียดจะเป็นประโยชน์ต่อนักลงทุนและผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรมชีวภาพ ยา ชีววัตถุ และวัคซีน ที่จะนำไปใช้ได้ ในอนาคต ทางสมาคมฯ ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ อย่างไรก็ตามสมาคมฯ นำสรุปเนื้อหาบางส่วน […]

ตัวแทนสมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพไทย (ThaiBIO) เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการ “การกำหนดทิศทางการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาอุตส รกกรรม” ณ ห้องประชุมกมลฤดี โรงแรมเดอะสุโกศล ถ.ศรีอยุธยา กรุงเทพฯ

วันที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๖๓ เวลา ๐๘.๓๐ – ๑๕.๓๐ น. ดร.พิมพ์นภา ณีศะนันท์ ผู้จัดการสมาคมฯ เป็นตัวแทนสมาคมฯ เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการ “การกำหนดทิศทางการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมฐานชีวภาพ (Biobased Industry)” โดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ให้ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ศช.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ดำเนินการศึกษาสถานภาพการวิจัย และทิศทางพัฒนาของประเทศ เพื่อจัดทำแผนที่นำทาง (Roadmap) และข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการผลักดันและขับเคลื่อนการดำเนินงาน การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายที่รัฐบาลมีมติเห็นชอบในหลักการสำหรับข้อเสนอของกระทรวงอุตสาหกรรมในเรื่อง “๑๐ อุตสาหกรรมเป้าหมาย : กลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต” เมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ เพื่อเป็นมาตรการระยะยาวที่จะกำหนดทิศทางอุตสาหกรรมใหม่ที่มีศักยภาพขับเคลื่อนเศรษฐกิจ (NEW GROWTH ENGINE) ของประเทศไทย ๔.๐ ซึ่งถูกคาดหวังให้เป็นโมเดลขับเคลื่อนประเทศสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ที่ได้ให้ความสาคัญกับการสร้างความเข้มแข็งในการวิจัย พัฒนาและนวัตกรรมของ และสถาบันวิจัย โดยในช่วงเวลาที่ผ่านมาภาครัฐได้มีความพยายามปรับปรุงกฎหมายและแก้ไขระบบหรือกลไกการบริหารจัดการงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่มีความจำเป็นสาหรับการวิจัยและนวัตกรรมที่มีคุณภาพ และการสร้างระบบนิเวศ (ECOSYSTEM) ที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้เกิดนวัตกรรมในประเทศ […]

การติดตาม การพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคระบาด CoViD19 ในประเทศไทย จากเวทีแถลงข่าวสถานการณ์ไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงสาธารณสุข (สธ.)

สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพไทย (ThaiBIO) นำข้อมูล ข่าวสาร การติดตาม การพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคระบาด CoViD19 ในประเทศไทย จากเวทีแถลงข่าวสถานการณ์ไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) จ.นนทบุรี เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2563 มาสรุปและเรียบเรียงเพื่อสมาชิกแฟนเพจที่สนใจติดตามข่าวอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพของไทย….โดยการพัฒนาและผลิตวัคซีน เป็นธุรกิจสาขาหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีชีวภาพเป็นพื้นฐาน การแถลงข่าวครั้งนี้มีท่านวิทยากรที่ทำงานเกี่ยวข้องโดยตรงกับการพัฒนาวัคซีนในไทย 3 ท่าน กรุณามาให้ข้อมูล เริ่มจาก นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์, กล่าวชื่นชมความร่วมมือร่วมใจของพี่น้องประชาชนไทยทำให้คุมสถานการณ์ระบาดของCoViD19 ได้ นอกจากนี้ประชาชนยังสนใจติดตามว่าเมื่อไรเราจึงจะผ่านพ้นเหตุการณ์นี้ได้โดยช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมามีประชาชนจำนวนมากสนใจติดตามข่าวในประเด็นเรื่องวัคซีนป้องกัน CoViD19 เป็นจำนวนมาก เนื่องจากวัคซีนเป็นคำตอบหนึ่งในการควบคุมเชื้อได้และคนไทยคุ้นเคยกับวัคซีนเป็นอย่างดีเนื่องจากเคยได้รับการฉีดวัคซีนไข้ทรพิษ หรือฝีดาษ (ปลูกฝี) เพื่อกระตุ้นการสร้างภูมิต้านทานโรคกันมาตั้งแต่ หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 (>>หรือประมาณ พ.ศ. 2378 จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2523 องค์การอนามัยโลกได้ประกาศว่าโรคฝีดาษหมดไปจากโลกแล้ว จึงหยุดการปลูกฝีเพื่อป้องกันโรคนับแต่นั้นมา ปัจจุบันในประเทศไทยมีการให้วัคซีนพื้นฐานที่ให้แก่ประชาชนเพื่อป้องกันโรคจำนวน 10 คือ โรควันโรค คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก โปลิโอ หัด […]

กิจกรรม ThaiBIO Knowledge Sharing Online 1/2020“ผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID19 ต่อธุรกิจอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ”

สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพไทย (ThaiBIO) นำ กิจกรรมรูปแบบใหม่ ThaiBIO Knowledge Sharing Online 1/2020….ในหัวข้อ “ผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID19 ต่อธุรกิจอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ”   จากบทสัมภาษณ์ ดร.วสันต์ อริยพุทธรัตน์ นายกสมาคมฯ ในฐานะผู้บริหารบริษัทเอกชนที่ประกอบธุรกิจเทคโนโลยีชีวภาพ, ในฐานะผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจอุตสาหกรรมบนพื้นฐานความรู้เทคโนโลยีชีวภาพทั้งในองค์กรภาคเอกชนและภาครัฐ….และนำเสนอเพื่อแบ่งปันข้อมูลและประสบการณ์ ในการปรับตัวของธุรกิจอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพช่วงวิกฤตการณ์ ….   เหตุการณ์ของโรคติดเชื้อไวรัส COVID19 ที่ระบาดเป็นวงกว้างอย่างรวดเร็ว เกิดเป็นวิกฤตร่วมกันไปทั่วโลก และส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของทุกคนบนโลกไปจนถึงระดับมหภาคอย่างเศรษฐกิจ โครงสร้างสังคม และการเมืองระหว่างประเทศ สำหรับผลกระทบต่อธุรกิจอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ ดร.วสันต์ มีความเห็นและปรับตัว อย่างไร สมาคมฯ นำสรุปประเด็นจากบทความในบทสัมภาษณ์ (ติดตาม รายละเอียด เพิ่มเติม http://www.thaibio.or.th/wp-content/uploads/2020/04/บทความ-ThaiBIOKS1-2020_VA.pdf) มานำเสนอ   “เหตุการณ์ ระบาดของโรคติดเชื้อ COVID19 ซึ่งมีอันตรายต่อสุขภาพจนถึงขั้นเป็นอันตรายแก่ชีวิตแพร่ระบาดทางอากาศได้ในบางสภาวะ ทำให้เกิดความตื่นตระหนกของคนในปัจจุบัน และด้วยการแพร่ระบาดที่ติดต่อกันได้ง่ายนี้จึงต้องมีการประกาศ พรบ. ฉุกเฉิน จากรัฐบาลไทย และให้หยุดกิจกรรมที่มีการติดต่อกันของผู้คนให้มากที่สุดส่งผลกระทบต่อธุรกิจอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ดังนั้นผู้ประกอบการอย่าตระหนกตามไปด้วยแต่ให้ตระหนัก…..หลายธุรกิจในประเทศได้รับผลกระทบโดยตรงทำให้ต้องปิดตัวลง โดยเฉพาะการบริการที่ต้องพบเจอกัน เช่น การท่องเที่ยว […]

ช่วง Free talk (ปล่อยของ)ในงาน ThaiBIO Executive Luncheon 2020

สมาคมเทคโนโลยีชีวภาพไทย (ThaiBIO) นำเสนอใจความสำคัญช่วงหนึ่งช่วง Free talk (ปล่อยของ)ในงาน ThaiBIO Executive Luncheon 2020 สุดยอดการรวมพลผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้ประกอบการอุตสาหกรรมสายเทคโนโลยีชีวภาพในเมืองไทยบนเวที ThaiBIO Talks ซึ่งช่วงนี้ได้รับเกียรติจากผู้บริหารบริษัทสมาชิก และศาสตราจารย์นักวิจัย ผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยวิจัยแนวหน้าของไทยได้ให้เกียรติร่วมแชร์ประสบการณ์ รวม 5 ท่าน โดย ท่านแรก คุณชาญณรงค์ แสงเดือน ผู้ก่อตั้ง และผู้บริหาร บริษัท ไบโอไดเวอร์ซิตี้ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ซึ่งท่านเป็นนักสื่อสารมวลชนที่หันมาสนใจธุรกิจไบโอเทคฯ ด้วยด้วยความเป็นนักหาข้อมูล วิเคราะห์เพื่อนำเสนอระดับมืออาชีพ ท่านทราบว่าเมืองไทยเป็นประเทศที่มีไบโอไดเวอร์ซิตี้สูงเป็นอันดับ 8 ของโลก มีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติในอันดับต้นๆ แต่เรายังไม่ค่อยสนใจจะเสาะหาคุณค่าที่สำคัญของทรัพยากรกลับขายเป็นวัตถุดิบทำให้ได้รายได้ต่ำ ท่านกรุณาแบ่งปันประสบการณ์ ว่า…เมื่อ 6 ปีก่อนท่านเริ่มต้นธุรกิจไบโอเทคด้วยการเลี้ยงแมลงเพื่อผลิตโปรตีน แต่พอทำมาสักพักข้อมูลที่ท่านพบคือคู่แข่งผู้ผลิตโปรตีนแมลงต่างชาติที่ทุนหนามีมากมาย และพบว่านอกจากโปรตีนแล้วแมลงมีไขมันชนิดที่ละลายน้ำได้เป็นสารสำคัญที่ใช้ในวงการ อาหาร และเครื่องสำอาง ซึ่งเป็นผลผลิตที่มีมูลค่าสูงกว่าและยังไม่มีคู่แข่ง ท่านจึงทำการทดสอบและจดสิทธิบัตรเพื่อผลิตเป็น ingredients และผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ ปัจจุบัน phosphosect ของท่านมีบริษัทจากต่างชาติสนใจ เนื่องจากความเป็นเจ้าของผลงานที่แตกต่าง ตอบโจทย์ […]

“บทบาทของกระทรวงการต่างประเทศในการส่งเสริมความร่วมมือด้านนวัตกรรมกับต่างประเทศ” โดย ฯพณฯ ท่านจักร บุญหลง

สมาคมเทคโนโลยีชีวภาพไทย (ThaiBIO) นำเสนอใจความสำคัญช่วงหนึ่งของการปาฐกถาจากงานสุดยอดการรวมพลผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้ประกอบการอุตสาหกรรมสายเทคโนโลยีชีวภาพในเมืองไทยบนเวที ThaiBIO Talks ในงาน ThaiBIO Executive Luncheon 2020 ในวันที่ 23 มกราคม 2563 กิจกรรม ThaiBIO Talks ในช่วง Spacial talk เป็นหัวข้อที่คัดสรรมาพิเศษโดยอาจจะเป็นหัวข้อที่เป็นประโยชน์กับการทำธุรกิจไบโอเทค มีความทันสมัย อยู่ในความสนใจ เป็น และ หาฟังได้ไม่ง่ายนัก ซึ่งช่วงนี้ได้รับเกียรติจากแขกรับเชิญพิเศษ 2 ท่าน ที่เป็นอดีตเอกอัครราชทูตที่มีผลงานโดดเด่น และเป็นประโยชน์กับการพัฒนาเทคโนโลยีของประเทศเป็นอย่างยิ่ง ท่านที่ 2 ฯพณฯ ท่านจักร บุญหลง อดีตเอกอัครราชทูตประจำประเทศอิสราเอล, นอรเวย์, เมียนมา ซึ่งท่านเป็นผู้มีจิตสาธารณะ เป็นนักปฎิบัติที่ลงมือทำทุกอย่าง ปัจจุบันยท่านทำงานที่ สำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) กรุณามาบรรยายในหัวข้อ “บทบาทของกระทรวงการต่างประเทศในการส่งเสริมความร่วมมือด้านนวัตกรรมกับต่างประเทศ” โดยท่านเล่าว่างานทูตและกระทรวงการต่างประเทศกับอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพในมุมของท่านก่อนหน้านี้ดูเป็นสิ่งที่ไกลกันมาก แต่พอได้มารู้จักกับ ดร.วสันต์ นายกสมาคมฯ พูดคุยกันจึงทราบว่า งานที่ท่านทำอยู่ มีความเกี่ยวข้องและสำคัญมากในเรื่องการพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพในเมืองไทย และยังส่งผลไปถึงการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในอนาคตได้ […]

‘นโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) กับความร่วมมือต่างประเทศ’ โดย ฯพณฯ ท่านสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว

สมาคมเทคโนโลยีชีวภาพไทย (ThaiBIO) นำเสนอใจความสำคัญช่วงหนึ่งของการปาฐกถาจากงานสุดยอดการรวมพลผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้ประกอบการอุตสาหกรรมสายเทคโนโลยีชีวภาพในเมืองไทยบนเวที ThaiBIO Talks ในงาน ThaiBIO Executive Luncheon 2020 ในวันที่ 23 มกราคม 2563 กิจกรรม ThaiBIO Talks ในช่วง Spacial talk เป็นหัวข้อที่คัดสรรมาพิเศษโดยอาจจะเป็นหัวข้อที่เป็นประโยชน์กับการทำธุรกิจไบโอเทค มีความทันสมัย อยู่ในความสนใจ เป็น และ หาฟังได้ไม่ง่ายนัก ซึ่งช่วงนี้ได้รับเกียรติจากแขกรับเชิญพิเศษ 2 ท่าน ที่เป็นอดีตเอกอัครราชทูตที่มีผลงานโดดเด่น และเป็นประโยชน์กับการพัฒนาเทคโนโลยีของประเทศเป็นอย่างยิ่ง ท่านแรก ฯพณฯ ท่านสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว อดีต ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ อดีต เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโตเกียว ประเทศ ญี่ปุ่น, กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส และ อีกหลายหลายประเทศ ปัจจุบันท่านดำรงค์ตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาโครงการ EEC ท่านกรุณามาให้การปาฐกถาในหัวข้อ ‘นโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) กับความร่วมมือต่างประเทศ’ โดยท่านส่งสาร […]

1 2 3