สมาคมสมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพไทย (ThaiBIO) ได้รับเชิญเข้าร่วมเป็นคณะรับรองมาตรฐานอาชีพ

ผู้แทนสมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพไทย (ThaiBIO) ดร.วสันต์ อริยพุทธรัตน์ นายกสมาคมฯ พร้อมด้วย ดร.พิมพ์นภา ณีศะนันท์ ผู้จัดการฯ เข้าร่วมประชุมสัมมนา’การเปิดตัวการจัดทำมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ สาขาวิชาชีพเทคโนโลยีชีวภาพ’ ณ อาคาร CMMU คณะวิทยาการจัดการ มหาลัยมหิดล ใน วันพฤหัสที่ 16 พฤศจิกายน 2560 งานด้านเทคโนโลยีชีวภาพเป็นงานที่เกี่ยวข้องการกับการใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาทำให้เกิดประโยชน์กับมนุษย์ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม อาจเป็นการค้นคว้าทดลองให้ได้สิ่งใหม่ หรือปรับปรุงสิ่งเก่าให้ดีเพิ่มขึ้น งานด้านวิทยาศาสตร์และการประยุกต์ใช้นี้ ต้องอาศัยบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพ ช่างคิดและช่างสังเกต ซึ่งในปัจจุบันมีความต้องการใช้งานบุคคลเหล่านี้ในปริมาณสูง การบรรจุสาขานี้เพื่อจัดทำมาตรฐาน โดยโครงการจัดทำมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพสาขาวิชาชีพชีวภาพเทคโนโลยีชีวภาพ กำลังถูกจัดทำขึ้นโดยทางสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล และหน่วยงานในองค์กรต่างๆ อาทิเช่น สวทช. สวทน. กรมวิชาการ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะได้ร่วมมือกัน ซึ่งในคณะนี้มี รศ. ดร. กัมปนาท ภักดีกุลคณบดี คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นหัวหน้าโครงการ โดยสมาคมไทยไบโอ ได้รับเชิญเข้าร่วมเป็นขณะรับรองมาตรฐานอาชีพ

สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพไทย (ThaiBIO)เข้าร่วมการฝึกอบรม “Assessor technique และ ISO17024:2012 โดยสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ

สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพไทย (ThaiBIO)เข้าร่วมการฝึกอบรม “Assessor technique และ ISO17024:2012 เพื่อเตรียมรองรับ การจัดทำมาตรฐานคุณวุฒิวิชาชีพ ดร.พิมพ์นภา ณีศะนันท์ ผู้จัดการสมาคม เข้าร่วมการอบรม Assessor technique และ ISO17024:2012 ที่จัดขึ้นโดยสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) การอบรมนี้ได้วิทยากรผู้เปี่ยมประสบการณ์จากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กรุณามาเป็นผู้บรรยาย การอบรบใช้เวลาถึง 4 วัน และผู้เข้าร่วมอบรมจะต้องผ่านการสอบหลังจบการอบรมในแต่ละหลักสูตร (course) เพื่อเตรียมความพร้อมของการเป็นผู้ตรวจประเมิน ขณะเดียวกันนี้ทางสถาบันได้มีหน่วยจัดทำมาตรฐานอาชีพควบคู่ไป เพื่อให้ผู้ประกอบอาชีพในสายงานต่างๆ ที่ไม่ได้เรียนมาหรือเรียนจบมาในสาขาวิชาที่ไม่ตรงกับงานที่ทำ มีโอกาศทดสอบเพื่อเป็นการยกระดับและประกาศคุณสมบัติของผู้ประกอบวิชาชีพและทำให้นายจ้างมั่นใจในระดับขีคความสามารถของผู้ประกอบอาชีพ อย่างมีมาตรฐาน และเพื่อให้มั่นใจว่า นักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิ จะมีความรู้ ความสามารถสำหรับการเป็นผู้ตรวจประเมินองค์กรรับรองในมาตรฐานงานรับรองบุคคลในสายอาชีพต่างๆ โดยได้เข้าร่วมอบรม และทดสอบจบทั้ง 2 course ในช่วงเดือน กรกฎาคม 2560 และ ในช่วงต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา เพื่อร่วมเตรียมความพร้อมในการตรวจประเมินหน่วยสอบมาตรฐานคุณวุฒิวิชาชีพไนสาขาเทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology) ซึ่งได้ผ่านการพิจารณาเห็นควรให้จัดทำ และได้รับความร่วมมือจากคณาจารย์ในมหาวิทยาลัย และ สถานศึกษาต่างๆ ดำเนินการจัดทำมาตรฐานดังกล่าวในหลายๆ สาขาอาชีพของ วิชาชีพเทคโนโลยีชีวภาพนี้

สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพไทย (ThaiBIO) เข้าประชุมวางนโยบายการทำงานร่วมกันกับสมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย หรือ TMA เพื่อเดินหน้าสร้างกิจกรรมเพื่อการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมจากเทคโนโลยีชีวภาพของประเทศ

เมื่อวันพุธที่ 4 ตุลาคม 2560 10.00-12.00 น. ณ ห้องประชุมมิตรผล อาคารสมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) ดร.วสันต์ อริยพุทธรัตน์ นายกสมาคม ThaiBIO พร้อมด้วย ดร.พิมพ์นภา ณีศะนันท์ ผู้จัดการสมาคมฯ เข้าพบ คุณ วรรณวีรา รัชฎาวงศ์ CEO สมาคม TMA, คุณ กฤษณะ บุญยะชัย CRO สมาคม TMA, คุณสมจิตต์ พุฒิพุฒชาติ และ คุณสุภณัฐ รัตนกังวานวงศ์ ผู้จัดการอาวุโสและผู้ช่วยผู้จัดการ ในโปรแกรมงานด้าน Technology and innovation ร่วมประชุมหารือวางแผนนโยบายการทำงานเพื่อสานต่องานด้านการส่งเสริมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพของประเทศไทยร่วมกันโดยประเด็นหนึ่งที่นายกสมาคม ThaiBIO เสนอกับTMA คือ การจัด Open innovation เพื่อการยกระดับการรับรู้ และเข้าถึงเทคโนโลยีให้กับผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยีชีวภาพรายย่อย SME หรือ startup ในประเทศไทย ทั้งนี้ในวันที่ […]

สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพไทย (ThaiBIO) เข้าร่วมประชุมเพื่อสรุปผลงานและวางแผนการจัดงาน Promoting I with I ต่อเนื่องในปีหน้า

ศ.เกียรติคุณ อมเรศ ภูมิรัตน์ ที่ปรึกษาร่วม และผู้ดำริโครงการ, ดร.วสันต์ อริยพุทธรัตน์ นายกสมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพไทย (ThaiBIO), พร้อม ดร.พิมพ์นภา ณีศะนันท์ ผู้จัดการสมาคมฯ, เข้าร่วมประชุมกับ ดร.นเรศ ดำรงชัย ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศทางชีววิทยาศาตร์ (TCELS), ดร.ศิรศักดิ์ เทพาคำ รองผู้อำนวยการศูนย์ และ ทีมงานจากทั้ง 6 หน่วยงานหลัก เข้าประชุมสรุปผลการจัดงานประชุม Promoting I with I ในรอบปีที่ผ่านมาทั้ง 3 ครั้ง เมื่อวันจันทร์ที่ 2 ตุลาคม 2560 ที่ผ่านมา ณ ห้องประชุมชั้น 20 อาคารวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดลเพื่อสรุปผลที่ได้จากการจัดงานและวางแผนการทำงานสำหรับการจัดกิจกรรมในปีต่อไปเพื่อเดินหน้าสนับสนุนและการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมจากเทคโนโลยีชีวภาพของประเทศไทย ซึ่งผลจากกิจกรรมที่ผ่านมาพบว่าประสบผลสำเร็จเป็นที่น่า พอใจเป็นอย่างยิ่ง โดยแบ่งประโยชน์ที่ได้ออกเป็น 3 ส่วนหลักๆ คือ 1 ส่วนที่ได้กับนักวิจัยที่เข้าร่วมงาน สามารถแบ่งย่อยๆได้อีก 3 ส่วน 1.1 […]

Thailand Lab 2017 and Promoting I with I episode 3

สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพไทย (ThaiBIO) นำภาพกิจกรรมในโครงการ “ส่งเสริมนวัตกรรมชีววิทยาศาสตร์ด้วยการลงทุน Promoting life science innovation with investment Episode 3” และงาน Thailand lab 2017 ที่จัดร่วมกันกับพันธมิตร ในระหว่างวันที่ 6-8 กันยายน 2560 มาถ่ายทอดให้สมาชิก ค่ะ ผู้แทนสมาคมได้เข้าร่วมการพิธีเปิดงานไทยแลนด์แลปในช่วยสายๆ ของวันที่ 6 กันยายน 2560 ในงานมีตัวแทนจากภาครัฐและเอกชนเข้าร่วมงานมากมาย ซึ่งคุณธีรยุทธ์ ลีลาขจรกิจ ผู้อำนวยการสายงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากบริษัทผู้จัดงาน VNU Exhibitor Asia Pacific จำกัด ซึ่งเป็น บริษัทสมาชิกน้องใหม่ของสมาคมไทยไบโอขึ้นกล่าวรายงานการจัดงานแถลงนโยบายของผู้จัดงานนี้ เพื่อที่มุ่งพัฒนาให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการค้าด้านเครื่องมือ เทคโนโลยี และงานประชุมนานาชาติ สำหรับอุตสาหกรรมเครื่องมือห้องปฏิบัติการ ชีววิทยา และการลงทุนด้านไบโอเทคโนโลยี…. (อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : http://m.posttoday.com/social/PR/513648) ต่อจากนั้นในช่วงบ่าย ตัวแทนสมาคมได้เข้าร่วมพิธีลงนาม บันทึกความร่วมมือ”โครงการพัฒนายา ชีววัตถุและวัคซีน เพื่อลดการนำเข้า และเพิ่มการส่งออก” […]

นายกสมาคมไทยไบโอเข้าร่วม แสดงความเห็นอภิปรายในหัวข้อ “Biotechnology Platform” ในการประชุมกลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ สภาอุตสาหกรรม

วันจันทร์ 28 สค. ดร.วสันต์ อริยพุทธรัตน์ นายกสมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพไทย (ThaiBio) และในนามของที่ปรึกษาคณะกรรมการสภาอุตสาหกรรม กลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ ร่วมประชุมประจำเดือน ครั้งที่ 8/2560 ณ ห้อง GS1-4 สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และมีโอกาสได้แสดงความเห็นอภิปรายในหัวข้อ “Biotechnology Platform” โดยมีประเด็นที่ทางกลุ่มเทคโนโลยีชีวภาพต้องการ ประกอบด้วย 1. การสร้างมาตรฐานรับรองการผลิตจุลินทรีย์/อนุพันธ์ของจุลินทรีย์ เช่นเอนไซม์ เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยให้กับผู้บริโภค (Standard of Biotech) เช่น ความปลอดภัยทางด้านชีวภาพต่อผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม (Bio safety for health & environment) โดยให้มีการกำหนดเป็นหน่วยงานกลางมาควบคุม และกำหนดทิศทางของมาตรฐานของอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพไทยในระดับประเทศ เพื่อให้เทียบเท่าในระดับสากล 2. การพัฒนาโรงงานต้นแบบ Pilot Plant สำหรับ กระบวนการ Fermentation Technology เพื่อการผลิตในระดับอุตสาหกรรม ซึ่งส่วนใหญ่มีการผลิตในระดับ Lab Scale ตามมหาวิทยาลัยและหน่วยงานวิจัยภาครัฐอยู่แล้ว แต่ต้องการให้หน่วยงานภาครัฐลงทุนขยายขนาดการผลิตเป็นระดับ Industrial […]

บริษัทไบโอเนท-เอเชีย กับการสนับสนุนพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตวัคซีนและชีววัตถุของประเทศไทย

สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพไทย (ThaiBIO) ขอแสดงความชื่นชมกับบริษัทไบโอเนท-เอเชีย ซึ่งเป็นสมาชิกและกรรมการสมาคม กับการสนับสนุนพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตวัคซีนและชีววัตถุของประเทศไทยโดยหน่วยงานต่างๆ เช่น องค์การเภสัชกรรม และ สภากาชาดไทย…..เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการผลิตวัคซีน และชีววัตถุในระดับสากล และสร้างศักยภาพการผลิตวัคซีน และชีววัตถุของประเทศในการพึ่งพาตัวเอง รายละเอียดติดตาม…. https://gnews.apps.go.th/news?news=5371

ขอเชิญร่วมกิจกรรมการส่งเสริมนวัตกรรมชีววิทยาศาสตร์ด้วยการลงทุน ครั้งที่ 3 (Promoting life science innovation with investment III)

สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพไทย (ThaiBIO) ร่วมกับ ศูนย์ความเป็นเลิศทางชีววิทยาศาตร์ (TCELS) และหน่วยงานส่งเสริมงานวิจัย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(TRF), สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร(ARDA), ศูนย์ความเป็นเลิศทางเทคโนโลยีชีวภาพด้านการแพทย์ (CEMB) และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (OHEC) ขอเชิญร่วมกิจกรรมการส่งเสริมนวัตกรรมชีววิทยาศาสตร์ด้วยการลงทุน ครั้งที่ 3 (Promoting life science innovation with investment III) Promoting i with i-III ในวันที่ 7 กันยายน 2560 ที่ EH 101-102, BITEC, Thailand : ซึ่งครั้งนี้จะจัดที่ BITEC บางนา ในงาน Thailand Lab 2017 เพื่อส่งเสริมให้เกิดการใช้นวัตกรรมที่ได้ผ่านการพัฒนาขึ้นภายในประเทศให้เกิดประโยชน์ในเชิงพานิชย์และให้ผู้ประกอบการได้มีโอกาสเข้าถึงนวัตกรรมและผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีชีวภาพของประเทศไทย ประโยชน์ที่จะได้รับ : 1.ได้รับข้อมูลข่าวสารงานวิจัยทางด้านชีววิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีชีวภาพ นวัตกรรม และแหล่งทุน 2. มีโอกาสเข้าถึงนักวิจัยและ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีชีวภาพของประเทศไทย 3. มีการสนับสนุน […]

นายกสมาคมไทยไบโอเข้าร่วมงานประชุม “ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมสิ่งทอที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วยเทคโนโลยีเอนไซม์”

ดร.วสันต์ อริยพุทธรัตน์ นายกสมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพไทย (ThaiBIO) พร้อมด้วย ดร. พิมพ์นภา ณีศะนันท์ ผู้จัดการสมาคม เข้าร่วมในการสัมมนา “ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมสิ่งทอที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วยเทคโนโลยีเอนไซม์ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมสิ่งทอที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วยเทคโนโลยีเอนไซม์ ” ในวันที่ 17 ส.ค.60 ณ ห้องเจ้าพระยาบอลรูม ชั้น 2 โรงแรมเจ้าพระยาปาร์ค ถ.รัชดา กรุงเทพฯ เวลา 12.30 – 16.30 น. งานนี้จัดโดยสถาบันวิทยาการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เพื่อสร้างการรับรู้เกี่ยวกับการนำงานวิจัยด้านเทคโนโลยีชีวภาพมาใช้ในอุตสาหกรรมโดยตัวอย่าง ผลิตภัณฑ์ทางเทคโนโลยีชีวภาพ วันนี้ คือ สารชีวภัณฑ์ ซึ่งเป็น “เอนไซม์” ที่สามารถนำมาใช้ทดแทนการใช้สารเคมีในขบวนการกำจัดแป้งและไขมันในขบวนการทอผ้าออกก่อนการย้อมผ้า ซึ่งวิธีการใช้เอ็มไซม์นี้มีประสิทธิภาพสูง ช่วยประหยัดขั้นตอน ใช้พลังงานลดลง และลดของเสียและน้ำเสียจากขั้นตอนการย้อมผ้าได้ถึง 30-50 % และนอกจากการลดต้นทุนการผลิต และ รักษาสิ่งแวดล้อมแล้ว ผ้าที่เป็นผลิตภัณฑ์ยังมีคุณภาพดีขึ้น ผ้านุ่ม เนื่องจากไม่เป็นการทำร้ายเส้นใยเพราะการทำงานของเอ็นไซม์จะจำเพาะกับการกำจัดแป้งและไขมันจากขบวนทอผ้าได้อย่างจำเพาะ เจาะจง ขณะที่สารเคมีอาจย่อยและทำลายทั้ง แป้ง ไขมันรวมถึงเส้นใยได้

ประชุมรับฟังความคิดเห็นเพื่อดำเนินการพัฒนาเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor of Innovation, EECi):

ดร.วสันต์ อริยพุธรัตน์ นายกสมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพไทย (ThaiBIO) เข้าร่วมเป็นวิทยากรในการเสวนาเพื่อให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาเขตนวัตกรรมเทคโนโลยีชีวภาพภาคตะวันออกในฐานะผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์เกี่ยวกับอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพของประเทศในงานประชุมรับฟังความคิดเห็นเพื่อดำเนินการพัฒนาเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor of Innovation, EECi): งานประชุมรับฟังความคิดเห็นแผนพัฒนาเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกจัดขึ้นในวันที่ ๙-๑๐ สิงหาคม ๒๕๖๐ ณ ศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี การประชุมคราวนี้จัดโดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยซึ่งเป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลักในการดำเนินการพัฒนา EECi เพื่อส่งเสริมให้เกิดการวิจัยและพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก สวทช. ได้จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นขึ้นเพื่อใช้ประกอบการทำแผนพัฒนา และเพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานและเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปสู่การใช้งานจริงในภาคอุตสาหกรรม และเพื่อส่งเสริมให้เกิดการวิจัยและพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม ในงานนี้ทางสมาคมไทยไบโอ โดยนายกสมาคมเสนอเตรียมแผนยุทธศาสตร์ “คลีนิค นวัตกรรม” วัตถุประสงค์เพื่อรองรับและสนับสนุน กลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยีชีวภาพใหม่ๆ ให้เข้าถึงนวัตกรรม

1 6 7 8 9 10